ชื่องานวิจัย : ประสิทธิภาพของหลักธรรมานามัยต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มข้าราชการจังหวัดเชียงราย
ผู้แต่ง : มยุรี   วรรณไกรโรจน์
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 6
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2008
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การศึกษาภาคตัดขวางเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักธรรมานามัยต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มข้าราชการสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และข้าราชการบำนาญจังหวัดเชียงรายรวม 258 คนดำเนินการในช่วงเดือนเมษายนถึงกันยายน2550 โดยให้การฝึกอบรมหลักสูตรธรรมานามัยระยะเวลา 3 วัน ที่พัฒนาโดยนักวิจัยและให้ตอบแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบค่าความเที่ยงและความตรง ก่อนรับการอบรมและหลังรับการอบรม 6 เดือนกลุ่มประชากรเป้าหมายที่ตอบแบบสอบถามทั้ง 2 ครั้งจำนวน 258 คน จากผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งหมด 408 คน (ร้อยละ 63.24) เป็นชายร้อยละ 41.86 และหญิงร้อยละ 58.14, อายุเฉลี่ย 53.44 ปีหลังการอบรม 6 เดือนต่อมาพบว่ากลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น คือ มีผู้ที่ออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้วยวิธีชี่กง (ค่าพี = 0.005), วิ่ง (ค่าพี < 0.000), เดิน (ค่าพี < 0.000) และท่าฤาษีดัดตน (ค่าพี < 0.000). นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมสุขภาพอื่นที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ กลั้นปัสสาวะน้อยลง (ค่าพี = 0.025) และทำสมาธิเพิ่มขึ้น (ค่าพี = 0.000). ทั้งนี้เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดีขึ้นควรจะจัดการอบรมมากกว่า 1 ครั้ง และควรขยายกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น.

 

คำสำคัญ: ธรรมานามัยพฤติกรรมสุขภาพข้าราชการจังหวัดเชียงราย

 

The objective of this cross-sectional study design was to determine the effectiveness of the Dhammanamai program in changing health behavior among government officers in Chiang Rai Province. The study population comprised government officers or retirees at the local and provincial levels and the study was conducted from April to September 2007. They were required to attend the three-day training course of Thai Traditional Medicine on Dhammanamai developed by the researcher. Prior to the training and six months after the training, the subjects were requested to answer the questionnaire previously tested for validity and reliability. It was found that, of 409 people attending the training, 258 subjects (63.24%) answered the questionnaire twice and the result could be evaluated. Of these, 41.86 percent were male and 58.14 percent were female; their average age was 53.4 years. It was found that there were four types of exercise which showed statistically significant changes in health behaviors before and after the training, i.e., Qigong (p = 0.005), running (p < 0.000), jogging (p < 0.000), and Ruesi Dutton (p < 0.000). In addition, two other health behaviors were significantly improved: holding urination (p = 0.025) and performing meditation (p = 0.000). It is suggested that the training program should be conducted on more than one occasion and extended to more target groups.

 

Key words: Dhammanamai, health behavior, government officers, Chiang Rai Province

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : มยุรี วรรณไกรโรจน์

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920136
This Month : 20523
Total Users : 1529649
Views Today : 6188
Server Time : 2024-09-20