ชื่องานวิจัย : ทัศนคติของผู้ใช้บริการสปา
ผู้แต่ง : อุบลวรรณ   ขอพึ่ง
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 6
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2008
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค จังหวัดนนทบุรี
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) ทัศนคติของผู้ใช้บริการต่อคุณค่าของสปาประสบการณ์ใช้บริการสปาความรู้ความเข้าใจสปาความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อบริการสปา, ๒) ความแตกต่างระหว่างลักษณะส่วนบุคคลประสบการณ์ใช้บริการสปาความรู้ความเข้าใจสปา กับทัศนคติต่อคุณค่าของสปา, ๓) ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของการให้บริการสปากั้บทัศนคติต่อคุณค่าของสปากลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้บริการสปา 385 คน จาก 4 เขตในเขตกรุงเทพมหานครการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ.การทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรใช้การทดสอบที และการทดสอบเอฟการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕.

ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุ ๓๑-๔๐ ปีมีการศึกษาระดับปริญญาตรีอาชีพส่วนใหญ่รับราชการพนักงานลูกจ้างของหน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ บาทต่อเดือนผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ใช้นาน ๆ ครั้ง โดยมักจะเลือกใช้บริการสปาประเภทนวดเพื่อเสริมสวยมากที่สุดถึงร้อยละ ๔๓.๒ . ในจำนวนนี้ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เลือกใช้เดย์สปาเป็นอันดับ ๑, รองลงมาเป็นสปาการแพทย์ และอันดับที่ ๓ คือโรงแรมแอนด์รีสอร์ทสปาส่วนประเภทสถานประกอบการที่ผู้ใช้บริการเลือกใช้น้อยที่สุด คือ นวดเพื่อสุขภาพ แต่เลือกกิจกรรมประเภทนวดน้ำมันน้อยที่สุด.

ผู้ใช้บริการมีความรู้ ความเข้าใจในภาพรวมของการให้บริการสปาอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจว่าสปาเป็นบริการเพื่อมุ่งประโยชน์หลายด้าน โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ การพักผ่อนและการผ่อนคลายรวมถึงบริการด้านความงาม การออกกำลังกายที่อยู่ภายใต้การควบคุมมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการสปาในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการต้อนรับและการให้บริการอยู่ในระดับดีมากส่วนราคาเป็นเรื่องที่ต้องปรับปรุง.ด้านทัศนคติที่มีต่อคุณค่าของสปาพบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อคุณค่าของสปา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าด้านการพักผ่อนและการผ่อนคลายรองลงมาเป็นคุณค่าด้านการส่งเสริมสุขภาพร่างกายด้านการบำบัดรักษา และด้านความงามตามลำดับ.

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าอายุระดับการศึกษาอาชีพ และประสบการณ์การใช้บริการสปาต่างกัน และมีทัศนคติต่อคุณค่าของสปาแตกต่างกันการทดสอบความสัมพันธ์พบว่าความคิดเห็นต่อการให้บริการสปามีความสัมพันธ์กับทัศนคติเชิงคุณค่าในทางบวก.

 

คำสำคัญ: สปา, คุณค่าสปาทัศนคติของผู้ใช้บริการ

 

This survey research had three main objectives. The first objective was to assess customer attitudes toward the value of spa services, the experiences of using spa, knowledge of spa and their perceptions of spa services. The second was to compare and analyze the relationship between independent variables such as personal characteristics, spa-using experiences, and knowledge; and the dependent variable was customer attitudes toward spa. The last objective was to analyze the relationship between perceptions of spa services and attitudes toward the value of spa. The study design was survey research using a self-administered questionnaire. A total of 385 samples were recruited from the customers who used the services of spa shops in four districts of Bangkok. To prove the hypothesis, statistical analysis was done by using t-test, F-test, and Pearson’s correlation coefficient test at the 0.05 statistically significant level. The details of the key findings in terms of personal characteristics were as follows: the majority of spa customers were female in the age group of 31-40 years old, having civil service or state enterprise service as their occupation, earning less than 30,000 baht per month, using spa rarely. However, the most frequently chosen type of spa shop is the spa for cosmetic purposes (43.2%). The most popular type of spa is the day spa. While the second most favorite is medical spa; the third is the hotel and resort spa. The least favorite type of spa shop is the massage spa; oil massage was the least chosen service. The overall knowledge of spa among the study group was in the middle level. The majority of spa users identified spa as a multi-purpose service in terms of health, leisure, relaxation, cosmetic and physical exercise. They have a clear understanding that all spa shops have to be audited and controlled for quality by the Ministry of Public Health. The perception of spa service is high overall, while the aspect of reception and quality of service is at a very high level. On the contrary, the cost needs to be reconsidered. The overall attitude of customers toward the value of spa is high, especially for the aspect of relaxation, and leisure is at a very high level; thus, the aspects of health promotion, treatment and beauty follow consecutively. From testing the hypothesis, statistically significant relationships confirm that age, education, and experience of spa use determine the attitudes toward the value of using spa. Correlation testing reveals that customer perceptions of spa services have a positive relationship on attitudes toward the value of using spa.

 

Key words: attitude of customers, benefit of using spa, spa

เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : ทัศนคติของผู้ใช้บริการสปา
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : อุบลวรรณ ขอพึ่ง

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920121
This Month : 20508
Total Users : 1529634
Views Today : 5854
Server Time : 2024-09-20