ชื่องานวิจัย : ต้นทุน รายได้ และการคืนทุนของบริการการแพทย์แผนไทย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทยจังหวัดแพร่
ผู้แต่ง : ชัยยา   นรเดชานันท์
ชื่อวารสาร : วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ปีที่ : 3
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2005
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

     การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของบริการการแพทย์แผนไทย องค์ประกอบต้นทุนในแง่อัตราส่วนของต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุน รายได้ และการคืนทุนของบริการการแพทย์แผนไทย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทยจังหวัดแพร่ ในทัศนะของผู้ให้บริการ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังในช่วงวันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2546 ทำการแบ่งหน่วยต้นทุนออกเป็นกลุ่ม คือกลุ่มกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และกลุ่มกิจกรรมบริการ ได้แก่ งานบริการผู้ป่วย และงานบริการส่งเสริมสุขภาพ การจัดสรรต้นทุนจากกลุ่มกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปยังกลุ่มกิจกรรมบริการ โดยวิธีการจัดสรรต้นทุนแบบสองครั้งตามเกณฑ์การจัดสรรต้นทุนที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม

ผลการศึกษา พบว่า ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทยจังหวัดแพร่ มีต้นทุรวมทั้งสิ้น 1,946,742.60 บาท ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นของกลุ่มกิจกรรมบริการคิดเป็นร้อยละ 50.25 โดยมีอัตราส่วนต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุน เท่ากับ 10.86 : 2.16 : 1 อัตราส่วนของต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุนของกิจกรรมงานบริการผู้ป่วย และกิจกรรมงานบริการส่งเสริมสุขภาพ เท่ากับ 10.58 : 2.20 : 1 และ 12.64 : 1.94 : 1 ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วยของบริการการแพทย์แผนไทยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 121.05 บาทต่อครั้ง แยกเป็นต้นทุนต่อครั้งของงานบริการผู้ป่วยในกิจกรรมบริการจ่ายยาสมุนไพร นวดไทย นวดฝ่าเท้า ประคบสมุนไพร และอบสมุนไพร มีค่าเท่ากับ 165.47 บาท, 142.83 บาท, 82.00 บาท, 79.06 บาท และ 93.24 บาท ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยของทุกกิจกรรมบริการในงานบริการผู้ป่วย เท่ากับ 119.94 บาท ต้นทุนต่อครั้งของงานบริการส่งเสริมสุขภาพในกิจกรรมบริการจ่ายยาสมุนไพรนวดไทย นวดฝ่าเท้า ประคบสมุนไพร และอบสมุนไพร เท่ากับ 253.21 บาท, 124.11 บาท, 101.93 บาท, 162.28 บาท และ 182.53 บาทตามลำดับโดยมีค่าเฉลี่ยของทุกกิจกรรมบริการในงานบริการส่งเสริมสุขภาพ เท่ากับ 127.96 บาท

สำหรับการวิเคราะห์ความไวของต้นทุนพบว่า เมื่อทำการลดองค์ประกอบของต้นทุนทีละองค์ประกอบลงร้อยละ 10-50 ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงได้ร้อยละ 1-40 ในขณะที่การเพิ่มปริมาณบริการขึ้นร้อยละ 10-50 ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงได้ร้อยละ 6-24 ในแง่ของรายได้จากการให้บริการของศูนย์เป็นรายได้จริง ณ จุดเก็บเงิน มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,356,784 บาท ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมงานบริการผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 85.70 โดยมีการคืนทุนของต้นทุนรวมทั้งหมด การคืนทุนของต้นทุนดำเนินการ และการคืนทุนของต้นทุนดำเนินการเฉพาะค่าวัสดุ คิดเป็นร้อยละ 121.06, 129.44 และ 875.77 ตามลำดับ

ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เห็นว่า ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทยจังหวัดแพร่ สามารถที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่หากต้องเข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำเป็นต้องพิจารณาหาแนวทางในการลดต้นทุนบริการการแพทย์แผนไทยเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้บริหารในการวางแผนการบริหารทรัพยากรขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

คำสำคัญ ต้นทุนต่อหน่วยแพทย์แผนไทยศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย

 

The purposes of this study were to determine the unit cost of Thai Traditional Medicine (TTM) services, the cost components in terms of labour cost, material cost and capital cost, the revenue and cost recovery of TTM services at Thai Traditional Health Promotion center, Phrae Province from the perspective of provider by retrospectively collecting data from January 1, to December 31, 2003. Costs were grouping into two groups : non-revenue producing cost center and services cost center such as patient services and health promotion services. The double distribution method was used to allocate the temporary cost center to the service cost center based on the appropriate allocation criteria for each activity.

The results showed that the total direct cost was 1,946,742.60 baht. Most of the total direct cost was the services cost center which was about 50.25 percent. The ratio of labour cost : material cost : capital cost of TTM services was 10.86 : 2.16 : 1. The ratio of labour cost : material cost : capital cost of TTMservices for patient services and health promotion services were 10.58 : 2.20 : 1 and 12.64 : 1.94 : 1 respectively. The average unit cost of TTM services was 121.05 baht per visit. The unit costs of patient services for herbal medicine, Thai traditional massage, foot massage, hot herbal compression, and herbal stream were 165.47, 142.83, 82.00, 79.06, and 93.24 baht per visit respectively. The average unit cost for over all activities of patient services was 119.94 baht per visit. While, the unit costs of health promotion services for herbal medicine, Thai traditional massage, foot massage, hot herbal compression, and herbal stream were 253.21, 124.11, 101.93, 162.28, and 182.53 baht per visit respectively. The average unit cost for over all activities of health promotion services was 127.96 baht per visit.

The results of sensitivity analysis showed that when 10-50 percent of the cost components declined, the unit cost was reduced 1-40 percent. Meanwhile, service capacity increased 10-50 percent resulting in 6-24 percent reduction in unit cost. The real revenue of TTM services was 2,356,784 baht. Most of revenue was patient services which was about 85.70 percent. The full net cost recovery, the net operating cost recovery, and the net material cost recovery were 121.06, 129.44, and 875.77 percent respectively.

In conclusion, this study showed that the Thai Traditional Health Promotion center, Phrae Province can continuely go on. But if the Thai Traditional Health Promotion center have to accede to the national health insurance project, these measures should be carried out with the consideration to reduce the service cost for appropriate income. This study provided all useful financial and management information for administrators in order to have the highest level of efficiency in resource management.

 

Key word: unit cost, Thai Traditional Medicine, Thai Traditional health promotion center

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ชัยยา นรเดชานันท์ และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921693
This Month : 22080
Total Users : 1531206
Views Today : 4549
Server Time : 2024-09-21