ชื่องานวิจัย : คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแผนกการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ผู้แต่ง : พันทิตา   เฉลิมพนาพันธ์
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 5
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2007
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

วัตถุประสงค์: ๑) ศึกษาระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิต, ๒) ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล, ๓) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย, ๔) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแผนกการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.

กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา: ผู้ป่วยนอกที่ตรวจรักษาที่แผนกการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศวร จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน ๒๘๐ คน; ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์; ค่าสถิติคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการวิเคราะห์เปรียบเทียบ t-test, ค่าความแปรปรวนทางเดียว F-test, การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD, และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน; กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และ ๐.๐๑.

ผลการศึกษา: ๑) ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับสูง, การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง, และมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง; ๒) ผู้ป่วยที่เพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว อาชีพ กลุ่มอาการโรคที่เข้ารับการรักษาแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน, แต่ผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาและระยะเวลาการเจ็บป่วยแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕;  ๓) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑:  ๔) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑.

 

คำสำคัญ: ผู้ป่วย, คุณภาพชีวิต, การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

 

Purposes of study:(1) to assess the level of self-care behavior, social support, and quality of life of patients, (2) to compare patients’ quality of life according to personal factors, (3) to study the relationship between self-care behavior and quality of life of patients, (4) to study the relationship between social support and quality of life of patients attending Thai traditional and alternative medicine services.

Materials and Methods:Subjects were consisted of 280 out-patients attending the Thai Traditional and Alternative Medicine Department at Chao Phya Abhaibhubejhr Hospital, Prachinburi province. Data collected using questionnaires were analyzed by using a computer program package. Statistical procedures included t-test, one-way ANOVA, multiple comparison (LSD) and Pearson’s Coefficient. Statistical significance was set at 0.05 and 0.01.

Results:(1) the self-care behavior of patients was at a high level, the social support of patients was at a moderate level and the quality of life of patients was also high; (2) patients with different profiles, such as sex, age, average family income, occupation, symptoms, treatment period, and treatment mode, disclosed no difference in quality of life, while patients with different levels of education and duration of sickness had a different quality of life (statistical significance at 0.05); (3) self-care behaviors were positively correlated with the quality of life at 0.01; and (4) social support was correlated to the quality of life at 0.01.

 

Key words : quality of life, Thai traditional and alternative medicine, Chao Phya Abhaibhubejhr Hospital

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : พันทิตา เฉลิมพนาพันธ์ และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920526
This Month : 20913
Total Users : 1530039
Views Today : 8033
Server Time : 2024-09-20