ชื่องานวิจัย : ข้อกำหนดมาตรฐานของจันทร์แดง
ผู้แต่ง : สุภาพร   ผลจันทร์
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 7
ฉบับที่ : 2-3
ปีที่วิจัย : 2009
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : –
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

 จันทน์แดงเป็นแก่นแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus santalinus L. f. วงศ์ Fabaceae (Leguminosae) โบราณใช้แก้พิษไข้ทั้งภายในและภายนอก บำรุงหัวใจ แก้พิษฝีที่มีอาการอักเสบ อาการปวดบวม เป็นต้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานของจันทน์แดง โดยใช้ตัวอย่าง ๑๒ ตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่าลักษณะเด่นทางจุลภาคของเนื้อไม้จันทน์แดงมีเซลล์เวสเซลขนาดใกล้เคียงกันเรียงตัวแบบกระจาย เซลล์ไซเล็มพาเรงคิมากระจายตัวแบบพาราเทรเคียล, เซลล์ไซเล็มเรย์เรียงตัวเดี่ยว มีชันสีเหลืองถึงสีส้ม มีผลึกรูปปริซึมในเซลล์เส้นใย การตรวจสอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้นพบสารกลุ่มเทอร์พีน การศึกษาข้อกำหนดทางเคมีฟิสิกส์ พบว่าควรมีปริมาณสิ่งแปลกปลอม ความชื้นเถ้ารวม และเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกินร้อยละ ๐.๐๐๒, ๘.๐, ๑.๐ และ ๐.๐๒ โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ ๙๕ และปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๒.๐ และร้อยละ ๑.๕ โดยน้ำหนักตามลำดับ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปจัดทำเป็นข้อกำหนดมาตรฐานของเครื่องยาสมุนไพรจันทน์แดง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาตำรับยาที่เข้าตัวยานี้ต่อไป

 

คำสำคัญ: ข้อกำหนดมาตรฐาน, จันทน์แดง, Pterocarpus santalinus L. f.

Although Chan Daeng (heartwood of Pterocarpus santalinus L. f.) is a crude drug frequently used as an ingredient in Thai traditional herbal recipes for antipyretic, antinociceptive and cardiotonic, its pharmacopoeial standard has not yet been established for the Thai Herbal Pharmacopoeia. Therefore, this study was aimed at establishing the specification of Chan Daeng. Microscopically, the crude drug showed characteristic scattered solitary vessel cells of diffuse porous wood, paratracheal xylem parenchyma, and uniseriate homocellular xylem ray. Phytochemical screening of its ethanolic extract indicated the presence of terpenoid compounds. Physico-chemical specifications, i.e. foreign matter, moisture content, total ash, and acid-insoluble contents of Chan Daeng were proposed as being not more than 0.002, 8.0, 1.0 and 0.02 percent w/w, respectively, while ethanol-soluble extractive and water-soluble extractive were set as not less than 12.0 and 1.5 percent w/w, respectively. These results will be useful for the quality control of Chan Daeng, including herbal remedies composed of Chan Daeng.

 

Key words: standard specification, Chan Daeng, Pterocarpus santalinus L. f.

เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : 
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : สุภาพร ผลจันทร์

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921080
This Month : 21467
Total Users : 1530593
Views Today : 1076
Server Time : 2024-09-21