โดย : นายแพทย์กิตติศักดิ์ เก่งสกุล พ.บ.
ศูนย์การแพทย์ฝังเข็ม รพ.วิชัยยุทธ
อุปนายกสมาคมแพทย์ฝังเข็มและสมุนไพรแห่งประเทศไทย

มุมมองของแพทย์แผนปัจจุบัน WESTERNIZED MEDICINEสาเหตุของอาการปวดหลัง Low back pain ที่พบบ่อย มี 4 ประการ
1. Back muscle sprain + spasm……………………………………………………….กล้ามเนื้อ
2. Chronic Lower Lumbar Ligamentous strain………………………………………..เส้นเอ็น
3. Lumbar spondylosis……………………………………………………………………..กระดูก
4. Prolapsed Lumbar disc………………………………………………………หมอนรองกระดูก
3 และ 4 อาจมีการกดทับระคายเส้นประสาท เช่น ประสาท sciatic(sciatica) ร่วมด้วย

มุมมองของแพทย์แผนจีน

อวัยวะและเส้นลมปราณ (Jing-Lou) ที่เกี่ยวข้องกับ Low back pain ประกอบด้วย ไต กระเพาะปัสสาวะ ตับ ม้าม ถุงน้ำดีไต ในทางการแพทย์จีนมีหน้าที่ควบคุม กระดูก ไขกระดูก ไขสมอง (คือสมองและไขสันหลังและเส้นประสาททั้งหมด) และมีหน้าที่เสริมบำรุงกล้ามเนื้อหลังกระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะคู่กับไต จึงมีผลต่อกันตับ มีหน้าที่ควบคุมเส้นเอ็น(ligament และ tendon)ถุงน้ำดี เป็นอวัยวะคู่กับตับ จึงมีผลต่อกันม้าม มีหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อทั้งหมด

เมื่อมองในสายตาของแพทย์แผนจีน สาเหตุแห่งโรคปวดหลังเกิดจากสาเหตุใหญ่ 3 ประการ1. ถูกรุกรานด้วยอิทธิพลของความเย็นและความชื้นเพราะมี exposure ของร่างกายบริเวณหลังและท้องต่อภูมิอากาศที่เย็นและมีความชื้นมาก ยกตัวอย่างเช่น หลังออกกำลังกายยังใส่เสื้อผ้าที่เปียกชุ่มเหงื่ออยู่เป็นเวลานานหรือการเดินตากฝนแล้วไม่เปลี่ยนเสือผ้า2. เกิดจากการปิดกั้น-คั่ง (stagnation) ของ Qi และ Bloodเช่น เกิดจากอุบัติเหตุบริเวณนี้หรือ sprain จากการทำงาน การออกกำลังกายมากเกินไปหรือไม่ถูกต้อง3. เกิดจากภาวะพร่องของไตในเพศชายเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์มากเกินไปในเพศหญิงอาจเกิดจากการมีการตั้งครรภ์บ่อยและมากเกินไปหรือการพักผ่อนบำรุงระหว่างคลอด-หลังคลอดไม่เพียงพอ เหล่านี้ทำให้ Qi และ Yang ของไตถูกใช้ไปมากและบกพร่องลง โดยปกติ Qi และ Yang ของไตมีหน้าที่ส่งการบำรุงให้กลับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและขา , เข่า เมื่อพร่องก็จะปรากฎอาการปวดหลัง เมื่อยขา เข่าอ่อนไม่มีกำลัง

อาการใช้ที่แยกกัน

– พวกที่มี Stagnation ของ Qi และ Blood (2) จะมีอาการปวดรุนแรง เป็นลักษณะ stabbing pain(ปวดเหมือนถูกแทง) และหากมีการขยับ ออกกำลังกายเบาๆจะรู้สึกดีขึ้น- พวกที่เกิดจากไตพร่อง(kidney difficiency) จะเป็นอาการปวดตื้อๆ( dull ache) และอาการจะดีขึ้นเมื่อได้ rest- พวกที่เกิดจาดความชื้นเย็น (DAMP+COLD) อาการจะแย่ลงเวลาอากาศเย็นตอนเช้ามืด พอสายๆก็ทุเลา หากประคบอุ่นๆ อาการก็จะดีขึ้น

หลักการรักษาคือ

ต้องฝังเข็มแบบระบาย – ในจุดที่เจ็บ (Ah shi – อาฃื่อ), – ในจุดระบายต้องบำรุงในจุดที่เป็นจุดบำรุง ไต ตับ ม้ามใช้จุดบนเส้นลมปราณ DU MAI ซึ่งอยู่ในแนวกลางหลังมาช่วยใช้จุด Hua Tou JiaJi (ห่างจาก Mid line of back 0.5 cun)และจุด Shu (ห่างจาก Mid line of back 1.5 cun) ที่ใกล้เคียงมาช่วยด้วยรวมทั้งใช้จุด Extrapoint นอกเส้นลมปราณหลักมาช่วยด้วย

  • การใช้ยาลนโกฏิ์จุฬารัมภา (MOXA) มาช่วยลนให้ความอบอุ่นต่อจุดฝังเข็มหรือติดด้ามเข็มขณะฝังเข็ม จะช่วยให้มีการระบายความชื้น ความเย็น และช่วยให้ Qi และ Blood ไหลเวียนดีขึ้นเป็นการแก้ Stagnation ของ Qi และ Blood
  • การใช้วีธีการครอบแก้วสุญญากาศเป็นอีกวิธีในการระบายและปรับการไหลเวียนเลือดและ Qi ไม่ให้ติดขัด

จุดฝังเข็มที่ Effective ที่ใช้บ่อย

ประกอบด้วยจุดบริเวณที่ปวด (Local Point) และจุดไกล (Distance Point)

การใช้จุดไกล (Distance Point)

– การใช้จุดไกล (Distance Point)

ได้ผลดีมากในอาการปวดระยะเฉียบพลัน จุดที่ใช้บ่อย

  • BL40 Weizhong
  • DU26 Renzhong
  • BL10 Tianzhu
  • S.I.3 Houxi
  • Yaotongxue
  • BL58 Feiyang
  • BL62 Shenmai
  • BL59 Fuyang

การใช้จุดใกล้ (Local Point)

– การใช้จุดใกล้ (Local Point)

ใช้จุดที่กดเจ็บ – Ah-Shi

  • DU3 Yaoyangguan ใต้ L4 ช่วย strengthen back+leg
  • DU4 Mingmen ใต้ L2 ช่วย Tonified Kidney-Yang Strengthen back
  • Ex-B8-Siqizhuixia ใต้ L5 Extrenely effective ในอาการปวดตรงกลางของ Lower back
  • DU8 Jinsuo Relax เส้นเอ็นของหลัง ช่วย relieve stiffness และ contraction ของกล้ามเนื้อหลัง
      • DU4 Mingmen
      • BL23 Shenshu
      • BL52 Zhishi
      • DU3 Yaoyangguan
      • BL25 Dachangshu
      • EX-B7 Yaoyan
      • BL32 Ciliao

การรักษาการปวดหลังโดยการใช้สูญญากาศ

การสัมมนาวิชาการแพทย์ทางเลือก ครั้งที่ 2
เรื่อง “การดูแลผู้ป่วยปวดหลัง ปวดเอวด้วยการแพทย์ผสมผสาน”
วันที่ 23-24 มีนาคม 2549 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ

สร้างเมื่อ 30 – มี.ค.- 49

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
“แพทย์แผนจีน ศาสตร์พันปีกับการดูแลผู้ป่วยปวดหลัง ปวดเอว” (pdf)

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5919581
This Month : 19968
Total Users : 1529094
Views Today : 3331
Server Time : 2024-09-20