ชื่องานวิจัย : การเปรียบเทียบผลของการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้าและการฝังเข็มร่วมกับการประคบ สมุนไพรต่อระดับอาการปวด ระดับความรุนแรงในการปวด และการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างที่มารับบริการในโรงพยาบาลห้วยยอด
ผู้แต่ง : นางสาวศวิกา    จันทร์สถาพร
ชื่อวารสาร : เอกสารรวบรวมบทความวิชาการ (Proceedings)
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2018
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : รพ. ห้วยยอด
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การวิจัยครั้งนี้ มีรูปแบบเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ  2 กลุ่ม วัดก่อนและหลัง วัตถุประสงค์1เพื่อเปรียบเทียบระดับอาการปวด ระดับความรุนแรงในการปวด และการทำกิจวัตรประจำวันระหว่างก่อนและหลังการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า และการฝังเข็มร่วมกับการประคบสมุนไพรไทยของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับอาการปวด ระดับความรุนแรงในการปวด และการทำกิจวัตรประจำวันระหว่างการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า และการฝังเข็มร่วมกับการประคบสมุนไพรไทยของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างและได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์แผนปัจจุบัน ที่มารับการรักษาที่คลินิกแพทย์แผนจีน โรงพยาบาลห้วยยอด จำนวน 80 คน สุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 40 คน  กลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มร่วมกับการประคบสมุนไพร และกลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า ทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการฝังเข็ม 2ครั้งต่อสัปดาห์ 15 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบประเมินอาการปวดหลังส่วนล่าง (Pain score) และแบบสอบถามการใช้ชีวิตประจำวัน (Barthel Index) การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง คือ การทดสอบไคสแควร์ (Chi –square test) และการทดสอบค่าที (t-test) ได้แก่ Paired t-test และ Independent t-test

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มร่วมกับการประคบสมุนไพร คะแนนเฉลี่ยระดับความรุนแรงในการปวด และระดับการปวดหลังที่ได้รับการฟังเข็มร่วมกับการประคบสมุนไพรต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .004 และ <.001 ตามลำดับ ส่วนคะแนนเฉลี่ยในการใช้ชีวิตประจำวันก่อนและหลังได้รับการฝังเข็มร่วมกับการประคบสมุนไพรไม่มีความแตกต่างทางสถิติ      สำหรับกลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า พบว่าคะแนนเฉลี่ยระดับความรุนแรงในการปวด ระดับความปวด และการใช้ชีวิตประจำวันหลังได้รับการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้าต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<.001คะแนนเฉลี่ยระดับความรุนแรงในการปวด ระดับความปวด และการใช้ชีวิตประจำวัน หลังการทดลองของกลุ่มได้รับการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้าต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มร่วมกับการประคบสมุนไพรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.001 แสดงว่าการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้ามีผลทำให้ระดับความรุนแรงในการปวด และระดับความปวดในผู้ป่วยที่ปวดหลังลดลงมากกว่าการฝังเข็มร่วมกับการประคบสมุนไพร และทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้นกว่าด้วย

คำสำคัญ:การฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า,การประคบสมุนไพร,อาการปวดหลังส่วนล่าง

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ศวิกา จันทร์สถาพร

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920282
This Month : 20669
Total Users : 1529795
Views Today : 7203
Server Time : 2024-09-20