ชื่องานวิจัย : การสำรวจค่าตอบแทนของผู้ให้บริการนวดเพื่อสุขภาพในจังหวัดสงขลา
ผู้แต่ง : บรรยง   ฉายบุ
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 5
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย :2007
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การสำรวจค่าตอบแทนและปัจจัยด้านการให้บริการนวดเพื่อสุขภาพภาคเอกชนในจังหวัดสงขลา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เนื้อหาของแบบสอบถามแบ่งเป็น ๓ ส่วนคือ ๑) ข้อมูลทั่วไป เป็นรายละเอียดทั่ว ๆ ไป ของผู้ตอบแบบสอบถามและสถานบริการที่ทำงานอยู่ม ๒) ค่าตอบแทนจากการประกอบอาชีพนวด เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับรายได้ รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ที่ได้รับ และ ๓) ความคิดเห็นรวมถึงทัสนคติต่องานที่ทำอยู่เป็นการแสดงความคิดเห็นต่อค่าตอบแทนที่ได้รับม การเปลี่ยนสถานที่ทำงานการเปลี่ยนอาชีพ และทัศนคติต่อพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพนวด ผู้สำรวจได้เก็บข้อมูลจากผู้ให้บริการนวด ๓๓๐ คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการวิจัยพบว่ารายได้ของผู้ให้บริการมาจาก ๒ ส่วนคือ ส่วนแบ่งจากค่าบริการนวดต่อเดือน และรายได้ค่าสมนาคุณพิเศษจากผู้รับบริการ มีไม่กี่รายที่ได้รับการประกันรายได้จากชั่วโมงขั้นต่ำ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่ารายจ่ายต่อเดือนไม่มากนัก แต่ได้รับสวัสดิการในรูปแบบอื่น ๆ เช่น อาหาร ที่พัก แต่ผู้ให้บริการส่วนหนึ่งคิดว่าค่าตอบแทนเหล่านี้ไม่เหมาะสม เช่น ผู้ให้บริการนวดส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับสวัสดิการประกันสังคม โดยสรุปผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้พัฒนาธุรกิจการนวดเพื่อสุขภาพในจังหวัดต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการวางแผนกำลังคน

 

คำสำคัญค่าบริการนวดผู้ให้บริการนวดเงินรายได้จังหวัดสงขลา

The objective of this study was to determine the factors affecting health massage service providers in Songkhla. A survey was used to collect data. A questionnaire was designed to obtain three major types of data, namely, general information, masseuses/masseurs’ income, and their attitude toward their present job. The general information part included general information on the masseuses/masseurs and their places of work, while the compensation part obtained information about their income and any fringe-benefits they might have received. The third part included data on their attitudes toward the compensation, changing work place, changing career, and attitudes toward their career. Descriptive analyses were used in this study to examine the average, standard deviation, minimum, and maximum for each variable. The study results showed that the average monthly income of the masseuses/masseurs came from two major sources, payment and tips for massage services. Not many masseuses enjoyed a guaranteed minimum hourly rate of pay. The results also showed that the average monthly income the masseuses in Songkhla Province received barely covered their monthly expenses. They also received other fringe benefits, such as food and housing. Some of the masseuses believed that they still did not receive enough fringe benefits, even though some of the benefits were compulsory, such as social security benefits. In conclusion, this study can be used as a basis for designing ways to improve the massage business in the province, especially workforce planning.

 

Key words: income, masseuse, masseur, salary, Songkhla Province

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : บรรยง ฉายบุ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920433
This Month : 20820
Total Users : 1529946
Views Today : 7892
Server Time : 2024-09-20