ชื่องานวิจัย : การศึกษาเบื้องต้นผลการรักษาและผลข้างเคียงของผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองในหญิงวัยใกล้หมดระดูและวัยหมดระดู
ผู้แต่ง : อนันต์   กนกศิลป์
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 6
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2008
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : โรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

      การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มควบคุมไขว้ข้ามสองฝ่ายเพื่อประเมินประสิทธิผลการรักษาและผลข้างเคียงของผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองบรรจุหลอดในหญิงวัยใกล้หมดระดูและวัยหมดระดู รักษาที่โรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ประชากรที่ศึกษาเป็นหญิงสุขภาพดีจำนวน 30 คน อายุ 40-59 ปี สุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 15 คนกลุ่ม ก กินผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง 6 สัปดาห์ พัก 24 ชั่วโมงแล้วกินยาหลอก 6 สัปดาห์กลุ่ม ข ได้กินยาหลอก 6 สัปดาห์ พัก 24 ชั่วโมงแล้วกินผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองบรรจุหลอด 6 สัปดาห์เก็บข้อมูลบันทึกอาการวัยหมดระดูโดยใช้ menopause rating scale. วิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบทีจับคู่การทดสอบทีอิสระการทดสอบ Wilcoxon signed-rankes และการทดสอบ Mann Whitney U. จากการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองมีประสิทธิผลบรรเทาอาการ 6 อย่าง คือ ร้อนวูบวาบตามตัวใจสั่น เหนื่อยง่ายโกรธง่าย ซึมเศร้าตื่นเต้นปัสสาวะบ่อยหรือลำบากและปวดข้อเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก สามารถลดคะแนนเฉลี่ยของอาการ 11 อย่างได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี 0.001). ผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองมีความปลอดภัยและสามารถใช้ในการทุเลาอาการภาวะหมดระดูสำหรับเป็นทางเลือกหนึ่งใช้ทดแทนและลดผลข้างเคียงของการใช้ยาฮอร์โมนเสริม.

คำสำคัญ: หญิงวัยใกล้หมดระดูหญิงวัยหมดระดูถั่วเหลืองผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง

The objective of this study was to evaluate the effectiveness and side-effects of a soybean product on hot flushes and sweating in pre- and post-menopausal women attending Khumuang Hospital, using a doubleblind, placebo-controlled, cross-over trial conducted in 30 healthy pre- or post-menopausal women aged 40-59, randomized equally to group A, receiving 500 mg soybean (SB) products three times daily for six weeks followed by a placebo of 500 mg t.i.d. for six weeks, after a 24-hour washout period. The other group, group B, randomly received the 500 mg placebo t.i.d. for six weeks, followed by the 500 mg soybean products t.i.d. for six weeks after a 24-hour washout period. The menopausal rating scale index was used to assess the changes in menopausal symptoms. Statistical analysis was carried out using mean, standard deviation, paired t-test, independent t-test, Wilcoxon signed-ranks test and Mann Whitney U test. The data on both groups taking the SB products showed significant decreases in the symptoms of hot flushes, heart discomfort, mood disorder, irritability, anxiety, and joint and muscular discomfort compared with those taking the placebo, and a significant decrease in the mean of the total score (p=0.001). The study concluded that the soybean product (1,500 mg daily in three divided doses) may be a safe and effective alternative therapy for menopausal symptoms and may offer a benefit by replacing hormone therapy and decreasing side-effects of hormone replacement therapy.

 

Key words: soyabean product, hot flash, sweating, menopause

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : อนันต์ กนกศิลป์ และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920160
This Month : 20547
Total Users : 1529673
Views Today : 6507
Server Time : 2024-09-20