ชื่องานวิจัย : การศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเห็ดหลินจือด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไอเอสเอสอาร์
ผู้แต่ง : เรือนแก้ว   ประพฤติ
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 8
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2010
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :
เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) เป็นราขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ได้นำมาใช้เป็นยาอายุวัฒนะและเป็นส่วนประกอบของยาพื้นบ้านมาเป็นเวลานานหลายร้อยปีปัจจุบันได้มีการเพาะเห็ดหลินจือในระดับอุตสาหกรรมและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพวิธีการจำแนกสายพันธุ์เห็ดด้วยวิธีดั้งเดิม โดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาไม่สามารถแยกความแตกต่างของสายพันธุ์เห็ดกลุ่มนี้ได้ เนื่องจากบางสายพันธุ์มีสัณฐานวิทยาใกล้เคียงกันมาก. งานวิจัยนี้ได้นำเทคนิคเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไอเอสเอสอาร์ มาใช้ศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอและความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางพันธุกรรมของเห็ดหลินจือจำนวน 9 สายพันธุ์ คือ เอ็มจี1 ถึงเอ็มจี9 โดยทดสอบกับไพรเมอร์16 ไพรเมอร์จากการทดลองพบมี 11 ไพรเมอร์ที่สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของเห็ดทั้ง 9 สายพันธุ์ได้ มีจำนวนแถบดีเอ็นเอทั้งหมด 103 แถบ เป็นแถบที่ต่างกัน 89 แถบ คิดเป็นร้อยละ 86.40 มีแถบดีเอ็นเอที่พบเฉพาะในบางสายพันธุ์ 21 แถบ มีจำนวน 7 ไพรเมอร์จาก 11 ไพรเมอร์ ให้แถบดีเอ็นเอที่พบเฉพาะในตัวอย่างเอ็มจี3เท่านั้นการจัดกลุ่มตามความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางพันธุกรรมพบว่าสายพันธุ์เอ็มจี3 และเอ็มจี4 มีความแตกต่างทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับอีก 7 สายพันธุ์ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าเทคนิคไอเอสเอสอาร์ สามารถนำมาใช้ศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอและใช้ระบุเอกลักษณ์ประจำสายพันธุ์ของเห็ดหลินจือได้.

คำสำคัญเห็ดหลินจือลายพิมพ์ดีเอ็นเอเทคนิคไอเอสเอสอาร์ความใกล้ชิดทางพันธุกรรม

Ganoderma lucidum is regarded as the herb of longevity. Fungi of this species have been used in folk medicine for hundreds of years, and strains are commercially cultivated for preparation of health tablets. The use of traditional taxonomic methods has been inconclusive in establishing a stable classification of the group, and these methods are useless for characterization of individual strains. In this work, ISSRtechnique was employed to determine the phylogenetic relationships among 9 G.lucidumMG1– MG 9 strains using 16 primers. Of the 16 primers tested, 11 gave amplified fragments. A total of 103 DNA fragments were amplified, of which 89 fragments were polymorphic (86.40%). These 11 primers gave 21 specific amplified fragments in 7 out of 9 strains tested, which can be use as specific markers for strain identification. Interestingly, strain MG3, which had a more distinctive morphology than the rest, had more specific amplified fragments than the others strains. The results of the phylogenic tree indicated that the strains MG3 and MG4 were genetically distant from the other strains. The results suggest that the ISSRtechnique is a useful method for polymorphic identification of G.lucidum strains, since it revealed a high degree of polymorphism.

Key words: G. lucidum, Inter-simple Sequence Repeats (ISSR) technique, DNA fingerprinting, genetic relationship, Ganodermataceae

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : เรือนแก้ว ประพฤติ และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921087
This Month : 21474
Total Users : 1530600
Views Today : 1099
Server Time : 2024-09-21