ชื่องานวิจัย : การศึกษาพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดยาเบญจทิพย์โอสถ
ผู้แต่ง : ทรงพล   ชีวะพัฒน์
ชื่อวารสาร :Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 9
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2011
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

ยาเบญจทิพย์โอสถเป็นตำรับยาที่มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ประกอบด้วยเครื่องยาสมุนไพร 10 ชนิด ผู้รายงานได้ศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดยาเบญจทิพย์โอสถโดยป้อนสารสกัดทางปากแก่หนูถีบจักรกลุ่มทดลอง3 กลุ่มในขนาด 2.5, 5.0 และ 10.0 ก./กกพบว่า สารสกัดไม่ทำให้หนูแสดงอาการผิดปกติใดๆ หนูทุกตัวมีชีวิตรอดและไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายในทางมหพยาธิวิทยา ขนาดของสารสกัดที่ทำให้หนูถีบจักรตายร้อยละ50 มีค่ามากกว่า 10.0 ก./กกซึ่งสูงกว่าขนาดที่ใช้ในคน ประมาณ 1,000 เท่า ในการศึกษาพิษเรื้อรังระยะเวลาเดือนโดยป้อนสารสกัดยาเบญจทิพย์โอสถทางปากแก่หนูแรตพันธุ์วิสตาร์จำนวน 144 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 24 ตัว (เพศผู้ 12 และเพศเมีย 12) ดังนี้ กลุ่มที่ 1 และ 2 เป็นกลุ่มควบคุมด้วยน้ำและ 1% tragacanthกลุ่มที่ 3 ถึง 6 เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับสารสกัดยาเบญจทิพย์โอสถขนาด 10, 100, 500 และ 500 มก./กก./วัน ตามลำดับ โดยกลุ่มสุดท้ายเป็นกลุ่มศึกษาภาวะฟื้นตัว (500-R) ภายหลังหยุดให้สารสกัดเป็นเวลา 2 สัปดาห์ผลการทดลองพบว่า สารสกัดยาเบญจทิพย์โอสถไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต การกินอาหาร สุขภาพ พฤติกรรมของหนูแรต และไม่ทำให้ค่าของโลหิตวิทยาของหนูกลุ่มทดลองแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากกลุ่มควบคุม ผลการวิเคราะห์ค่าชีวเคมีคลินิกต่างๆ ของหนูกลุ่มทดลอง พบว่า ระดับโปรตีนรวมในซีรั่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเฉพาะในหนูเพศเมียกลุ่มที่ได้รับสารสกัดขนาด 500 มก./กกซึ่งยังคงอยู่ในช่วงค่าอ้างอิงของหนูปกติ ส่วนค่าพารามิเตอร์อื่นๆ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ผลการตรวจอวัยวะภายในทางจุลพยาธิวิทยาพบว่า หนูเพศผู้ที่ได้รับสารสกัดขนาด 100 มก./กก./วัน มีอุบัติการษ์ของเซลล์ตับเสื่อมแบบมีไขมันสูงอย่างมีนัยสำคัญนอกจากนี้หนูกลุ่มดังกล่าวและกลุ่ม  500-R ยังมีอุบัติการณ์ของการคั่งเลือดที่ไตสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่พบความผิดปกติของโกลเมอรูรัสและท่อไตแต่อย่างใด การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่พบได้ในบางอวัยวะนั้นไม่สัมพันธ์กับขนาดที่ได้รับจึงคาดว่ามิได้เกิดสารสกัดยาเบญจทิพย์โอสถ สรุปได้ว่า สารสกัดยาเบญจทิพย์โอสถไม่ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังที่รุนแรงต่อสัตว์ทดลอง

คำสำคัญ:  ยาเบญจทิพย์โอสถพิษเฉียบพลันพิษเรื้อรัง

A Thai traditional medicine called Benjathiposoth has been reported to possess hypotensive activity. The recipe for preparing medication contains 10 types of herbal materials. An acute toxicity study in mice by gavaging the ethanolic extract of Benjathiposoth at single doses of 2.5, 5.0 and 10.0 g/kg showed that the extract produced neither abnormal signs nor mortality and its LD50 value was more than 10.0 g/kg, which is approximately 1,000 times greater than the human therapeutic dose. The oral six-month chronic toxicity study of the extract was investigated in 144 Wistar rats divided into six groups (each of 12 per sex). Groups 1 and 2 were control groups given with distilled water orally and 1.0% tragacanth solution respectively. Groups 3 to 6 were experimental groups administered orally extract of Benjathiposoth at doses of 10, 100, 500 and 500 mg/kg/day. After six months, the last group (500-R) was further raised without the extract for two weeks in order to assess reversibility of any adverse effects. The results revealed that the Benjathiposoth extract did not affect growth, food intake, health and behaviors of the test animals. The extract at the doses given caused no significant differences in any hematological parameters between the treatment and control groups. Clinical chemistry assays revealed a significant increase in total serum protein in the female group treated with the highest dose of the extract, which was still within the reference interval of normal rats, whereas other parameters showed no significant deviation from the controls. Histopathology of various visceral organs showed that the male groups receiving the extract at 100 mg/kg and higher have a higher incidence of fatty liver. Moreover, these male groups as well as the 500-R group, had higher incidence of kidney congestion when compared with their corresponding control groups. Nevertheless, no pathological change was found in glomerular and tubular kidneys. The incidence of histopathological findings in some organs did not show any dose dependency; therefore, it was considered as not having been contributed by the extract. In summary, the extract of Benjathiposoth produced no serious acute or chronic toxicity in experimental animals.

Key words: Benjathiposoth, acute toxicity, chronic toxicity

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น)   –
เจ้าของงานวิจัย : ทรงพล ชีวะพัฒน์ และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920739
This Month : 21126
Total Users : 1530252
Views Today : 44
Server Time : 2024-09-21