ชื่องานวิจัย : การศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบ “พลังลมปราณ” ต่อตัวชี้วัดสุขภาพและผลทางสรีรวิทยา
ผู้แต่ง : วิศาล   คันธารัตนกุล
ชื่อวารสาร : วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ปีที่ : 3
ฉบับที่ : 2
ปีที่วิจัย : 2005
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

     ในรายงานการศึกษานี้จะเป็นผลทางสรีรวิทยาเปรียบเทียบก่อนและหลังการออกกำลังกายแบบใช้ลมปราณ โดยวัดสมรรถภาพของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย ความสมบูรณ์ของระบบไหลเวียนหลอดเลือดและหัวใจ โดยใช้การวัดการใช้ออกซิเจนสูงสุดทางอ้อม ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ โดยการวัดการนั่งและเหยียด และการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ขนาดของกล้ามเนื้อต้นแขน และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา ระหว่างผู้ที่ออกกำลังกายแบบลมปราณ จำนวน 20 ราย และเปรียบเทียบระดับความหนักของการออกกำลังกายแบบใช้ลมปราณเมื่อเทียบกับระดับการใช้ออกซิเจนสูงสุด จำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษา ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงอายุระหว่าง 35 ถึง 55 ปี ที่ไม่มีปัญหาทางด้านร่างกายหรือโรคที่จำกัดการออกกำลังกายแบบลมปราณได้คือ ภาวะความดันโลหิตสูงที่ยังคุมไม่ได้ ปวดไหล่จากภาวะเอ็นอักเสบ ข้อไหล่ติดจนไม่สามารถยกขึ้นได้ ภาวะทางกระดูกและข้อที่ทำให้ไม่สามารถเดินได้ เช่น เข่าอักเสบ ข้อเท้าอักเสบ และสามารถเข้าร่วมการออกกำลังกายได้จนครบ 3 เดืิอน

โดยผลการศึกษาพบว่าผู้ที่เข้าร่วมการออกกำลังกายแบบใช้ลมปราณมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาโดยพบว่า มีเส้นรอบวงต้นแขนทั้งสองด้าน (both arm circumference: 26.24 V.S. 27.5 cm.) ความหนาของชั้นไขมันใต้ผิวหนังที่ท้องแขน(triceps skinfold: 19.53 V.S. 21.6 mm.) กำลังขา (leg strength: 69.45 V.S. 73.26 kg) และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลัง (flexibility: 9.73 V.S.10.1 cm.) ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญ โดยระดับความหนักของการออกกำลังกายแบบเมื่อแยกการออกกำลังแบบใช้ลมปราณเป็นบู๊ตึ๊ง และแบบเส้าหลิน พบว่าการออกกำลังกายแบบบู๊ตึ๊งมีระดับความหนัก (ร้อยละ 32.12 ของอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดมากกว่าการออกกำลังกายแบบเส้าหลิน (ร้อยละ 27.26 ของอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดและท่าบู๊ตึ๊งมีค่าชีพจรสูงสุดและระดับความดันสูงสุดในท่าเกร็งแขนคือ 98.87 ครั้งต่อนาที ในขณะที่ท่าเส้าหลินมีระดับการ และมีอัตราการคงออกกำลังกายเท่ากับร้อยละ 75 สรุปจากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายแบบใช้ลมปราณนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัดทางสรีระที่เกี่ยวกับสัดส่วนของร่างกาย (body composition) และความยืดหยุ่น มากกว่าความสมบูรณ์ของระบบหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งอาจจะเนื่องจากการออกกำลังกายนี้เป็นระดับเบาถึงปานกลาง จึงทำใ้ห้อาจจะต้องออกกำลังกายด้วยเวลาที่ยาวขึ้นจึงจะได้ผลต่อการเปลี่ยนแปลงของความสมบูรณ์ของปอดและหัวใจ โดยในการศึกษานี้จะยังติดตามผลเพื่อดูอัตราการออกกำลังกายแบบนี้ต่อไปในระยะยาว

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : วิศาล คันธารัตนกุล และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921598
This Month : 21985
Total Users : 1531111
Views Today : 4165
Server Time : 2024-09-21