ชื่องานวิจัย : การศึกษาความเป็นพิษของสมุนไพรบัวบก
ผู้แต่ง : ทรงพล   ชีวะพัฒน์
ชื่อวารสาร :  วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ปีที่ : 2
ฉบับที่ : 3
ปีที่วิจัย : 2004
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

        ได้ศึกษาพิษเฉียบพลันของบัวบกในหนูถีบจักร พบว่า ขนาดของผงบัวบกที่ทาำให้หนูถีบจักรตายร้อยละ 50 (LD50มีค่ามากกว่า 8 ก./กกและไม่พบความผิดปกติทางจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่ออวัยวะภายในที่เกิดจากบัวบก ผลการศึกษาพิษเรื้อรังในหนูแรทพันธุ์วิสตาร์ที่แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ๆ ละ 30 ตัว  (เพศชาย 15 ตัว) โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมด้วยน้ำ กลุ่มที่ 2 ถึง 5 เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับผงบัวบกโดยวิธีการกรอกทางปากในขนาด 20, 200, 600 และ 1,200 มก./กก./วัน เป็นระยะเวลา 6 เดือนและกลุ่มที่ 6 เป็นกลุ่มศึกษา recovery โดยได้รับบัวบก 1,200 มก./กก. นาน 6 เดือนเช่นกันแล้วหยุดให้บัวบกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนเจาะเลือด พบว่า หนูที่ได้รับผงบัวบกทุกขนาดมีน้ำหนักตัว การกินอาหารและสุขภาพไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม หนูเพศผู้ที่ได้รับบัวบกขนาด 600 และ 1,200 มก./กกมีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตามจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นเมื่อหยุดให้บัวบกขนาดสูงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ การตรวจค่าเคมีคลินิกของซีรั่มพบว่า หนูเพศผู้ที่ได้รับบัวบกขนาด 600 มก./กก.ขึ้นไปมีระดับโซเดียมและคลอไรด์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และหนูเพศเมียที่ได้รับผงบัวบก 1,200 มก./กกมีระดับโซเดียมสูงกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน (p<0.05) แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ยังคงอยู่ในช่วงค่าปกติ ผลการตรวจเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ ทางจุลพยาธิวิทยาไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้จำเพาะถึงความเป็นพิษของบัวบก ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ผงบัวบกไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อหนูแรทพันธุ์วิสตาร์

 

คำสำคัญ:  สมุนไพรบัวบกความเป็นพิษของสมุนไพรบัวบก

 

Oral acute toxcity of Centella asiatica (L.) Urban powder (CA) in mice revealed that median lethal dose (LD50) of CA was more than 8 g/kg body weight. Histopathological study revealed no abnormality contributed to CA. Chronic toxicity has been investigated in six groups of Wistar rats, each of 30 rats (15 of each sex). Group 1 was the water control group while group 2 to 5 received CA by oral administration at the doses of 20, 200, 600 and 1200 mg/kg/day respectively for six months. Group 6, a recovery group, received 2000 mg/kg CA and the administration was withdrawn two weeks before sacrificed. The result revealed that average body weight and food consumption in all CA-treated groups were not different from those of the control groups. Male rats receiving CA at 600 and 1200 mg/kg had significantly less white blood cell counts than the control group (p<0.05); however the number of white blood cell increased after CA discontinuation for 2 weeks. Male rats receiving 600 mg/kg CA and more had significantly higher levels of sodium and chloride than control group (p<0.05) and female rats treated with 1200 mg/kg CA had significantly higher sodium level (p<0.05) as well. However, these alterations were trivial and within normal range. Histopathological study of various visceral organs did not show any pathognomonic lesions caused by CA. Therefore, it may be concluded that CA produces no toxicity in Wistar rats.

 

Keywords : Centella asiatica (L.) Urban, Toxicity

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ทรงพล ชีวะพัฒน์ และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921695
This Month : 22082
Total Users : 1531208
Views Today : 4556
Server Time : 2024-09-21