ชื่องานวิจัย : การประเมินมาตรฐานการผลิตยาจากสมุนไพรของสถานที่ผลิตยาแผนโบราณในจังหวัดเชียงใหม่
ผู้แต่ง : ชูเพ็ญ   วิบุลสันติ
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 5
ฉบับที่ : 2
ปีที่วิจัย : 2007
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : –
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตยาสมุนไพรของสถานที่ผลิตยาแผนโบราณในจังหวัดเชียงใหม่เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาจากสมุนไพร (Good Manufacturing Practice; GMPของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยทำการสำรวจสถานที่ผลิต สภาพการผลิตยา ปัญหาอุปสรรคของการผลิต สรุปผลการสำรวจ และให้ข้อแนะนำแก่ผู้ประกอบการ.

การสำรวจสถานที่ผลิตยาแผนโบราณในจังหวัดเชียงใหม่ ๒๗ แห่ง พบ ๒๒ แห่งที่การผลิตไม่ผ่านการประเมินตามมาตรฐานเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาจากสมุนไพร เนื่องจากไม่ผ่านข้อบกพร่องสำคัญทั้ง ๔ หมวด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ หมวดที่ ๓ การจัดทำเอกสาร, หมวดที่ ๔ การดำเนินการผลิต, หมวดที่ ๑ เรื่องบุคลากร, หมวดที่ ๒ อาคารสถานที่ ตามลำดับ. ทั้งนี้เนื่องจากขาดข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตยาแผนโบราณของผู้รับใบอนุญาต และ/หรือผู้ดำเนินกิจการ, มีอุปสรรคด้านการตลาดและรายได้เป็นปัญหาหลัก. จากผลการสำรวจทำให้สามารถใช้ประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถานที่ผลิตยาแผนโบราณให้เป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาจากสมุนไพร.

คำสำคัญ: เกณฑ์การผลิตที่ดี, เกณฑ์มาตรฐานวิธีการผลิตยาจากสมุนไพร, สถานที่ผลิตยาแผนโบราณ, จังหวัดเชียงใหม่

The study was undertaken in order to investigate the practice of manufacturing herbal medicine from 27 traditional medicinal plants in Chiang Mai Province, according to the Good Manufacturing Practice (GMP) standard of the Food and Drug Administration. The procedure was to investigate the manufacturing environment and process, compile the problems encountered, and provide the entrepreneurs with recommendations on how to solve the problems in compliance with the standards. The results showed that, of the 27 entrepreneurs assessed, 22 of them failed to meet the GMP standards. Obstacles were found in all four categories: ranging from severe to less severe were category 3 (paper work), category 4 (manufacturing procedures), category 1 (management of human resources), and category 2 (building and location). The major causes were lack of information about manufacturing practices, business turnover and marketing. This study could encourage the entrepreneurs to improve the conditions of the manufacturing sites so that they meet the GMP standard.

 

Key words :Good Manufacturing Practice (GMP), manufacturing practice standard of traditional medicine, traditional medicinal plants, Chiang Mai Province

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ชูเพ็ญ วิบุลสันติ และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920477
This Month : 20864
Total Users : 1529990
Views Today : 7955
Server Time : 2024-09-20