ชื่องานวิจัย : การประเมินผลโครงการจัดบริการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ผู้แต่ง : สำเนียง   รัตนวิไลวรรณ
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 5
ฉบับที่ : 2
ปีที่วิจัย : 2007
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

               ได้ทำการประเมินผลการจัดบริการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าพบว่าบริการแพทย์แผนไทยของสถานบริการสาธารณสุขของรัฐอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค, งานการแพทย์แผนไทย, หรืองานเวชกรรมสังคมสถานบริการส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๖๑.๔) ให้บริการใน ๔ บริการหลัก คือ ๑. การจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร, ๒. การนวด อบ ประคบสมุนไพร, ๓. การฝึกอบรม, และ ๔. การผลิตยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งบางแห่งอาจมีเพียง ๑ ถึง ๓ บริการหลัก ทั้งนี้ขึั้นอยู่กับความพร้อมบุคลากรผู้ให้บริการส่วนใหญ่เป็นหมอนวดและนักอายุรเวทผู้มารับบริการส่วนใหญ่เจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกจึงเข้ารับการบำบัดและฟื้นฟูสภาพด้วยการนวดมากที่สุดส่วนกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคไม่เป็นที่นิยมมากนัก. ผู้รับบริการพึงพอใจในการใช้บริการแพทย์แผนไทยในระดับดีมากถึงร้อยละ ๗๙.๐ นอกจากนี้ผู้เข้ารับการอบรมนวดแผนไทยได้นำความรู้ไปเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว และใช้ประกอบอาชีพสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่าบริการแพทย์แผนไทยเป็นนวัตรกรรมเชิงรุกด้านสุขภาพของประเทศ ที่มีบริบททั้งด้านสังคม นโยบาย และความพร้อมของบริการของรัฐที่เอื้อต่อการพัฒนาการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอย่างไรก็ดี ปัจจัยด้านกำลังคนยังต้องพัฒนาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพมาตรฐานให้สอดคล้องกับการจัดบริการทั้งการบำบัดรักษา การฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคผู้วิจัยแนะว่าต้องผลักดันงานการแพทย์แผนไทยสู่การเป็นยุทธศาสตร์ชาติอย่างแท้จริง พร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยให้เป็นมาตรฐาน และยกระดับให้เท่าเทียมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน, รวมถึงการกำหนดโครงสร้างและอัตรากำลังด้านการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เพื่อรองรับและสนับสนุนการพัฒนากำลังคนอย่างเป็นระบบ.

 

คำสำคัญ: การแพทย์แผนไทย, สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ, ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

This study was aimed at evaluating the provision of Thai traditional medicine services in public-sector health facilities under the Universal Health Security Scheme. It was found that Thai traditional medicine services in such facilities are under the responsibility of consumer protection working groups, Thai traditional medicine work, or social medicine work. Most of the health facilities (61.4%) provided four types of Thai traditional medicine services, while some provide only 1-3 types of services, depending on the readiness of each facility. The four types of services are 1) sale of herbal medicines and herbal products; 2) massage, herbal steam bath and hot herbal compress services; 3) training courses on Thai traditional medicine; and 4) production of herbal medicines and herbal products. Most of the personnel who provide Thai traditional medicine services are Thai masseurs/masseuses and “ayurvedic”practitioners. Most of the clients were patients suffering from musculoskeletal disorders requiring Thai massage for therapeutic and rehabilitation purposes; however, the health promotion and disease prevention services and activities were not well accepted by the public. The majority of the clients (79.0%) were very satisfied with the services they received. In addition, people who attended the Thai massage training course used the knowledge gained to take care of the health of their family and themselves, and as a vocational tool to earn their living. It can be said that Thai traditional medicine services are a proactive innovation on health care in the country; they involve the social context, national health policy and the readiness of health-care facilities to support the development of Thai traditional medicine services, which are regarded as an alternative approach of holistic health care. However, there are some weaknesses related to manpower in the service system that need to be overcome in terms of quantity and quality in order to match the requirement for the provision of Thai traditional medicine services for therapeutic purposes, health promotion and disease prevention. Several strategies are recommended to successfully integrate Thai traditional medicine into the health service system, namely to advocate that policy makers make Thai traditional medicine a national strategy, improve the standards of the Thai traditional medicine training curriculum and strengthen the knowledge of Thai traditional medicine so that it will gain equal recognition and acceptance by the public and other health-care personnel as does modern medicine. Last but not least, the structure of manpower must be established and the civil servant positions and fiscal budget for the salary of workers who provide Thai traditional medicine service in public-sector health facilities must be allocated to support the systematic development of human resources.

 

Key words:Thai traditional medicine, public-sector health facilities, universal health security scheme

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : สำเนียง รัตนวิไลวรรณ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920386
This Month : 20771
Total Users : 1529898
Views Today : 7815
Server Time : 2024-09-20