นายสมคิด เริงวิจิตรา
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

คำจำกัดความ
การนวดสัมผัสปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย คือ การปรับสมดุลร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ หลังจากนั้นอวัยวะต่างๆ ในร่างกายจะรักษาตัวเองตามธรรมชาติ  การนวดศาสตร์นี้เป็น การนวดโดยใช้การสัมผัสให้ถึงลักษณะอาการ ซึ่งดูจากลักษณะโครงสร้างร่างกาย ซึ่งสันนิษฐานได้ตั้งแต่เริ่มเดินเขามารับการนวด สัมผัสอุณหภูมิของร่างกายโดยรวมเพื่อให้รู้ถึงลักษณะอาการความเจ็บป่วยเบื้องต้น  ตรวจวัดความดันของโลหิตว่าเป็น ความดันโลหิตสูงหรือต่ำตามอุณหภูมิของร่างกาย โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องวัดความดัน ตรวจความสมดุลของร่างกายเพราะร่างกายคนเรามีทั้งสองข้างซ้ายและขวา ถ้าเกิดอาการผิดปกติจะสังเกตได้จากโครงสร้างของร่างกาย เช่น การเดินที่ไม่เสมอกัน เท้าทั้งสองข้างแบะออก เดินไหล่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นโดยรวมต่างๆ ไม่อยู่ในสภาพปกติ ฯลฯ ลักษณะอาการต่างๆ ทำให้ส่งผลต่อทุกระบบของร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียน โลหิต ระบบอวัยวะ และระบบ อัตโนมัติ ต่างๆ อาจเกิดอาการผิดปกติได้

ประวัติ/ที่มา
การนวด เชื่อกันว่า รากฐานการนวดแผนโบราณมาจากประเทศอินเดีย โดยหมอชีวก โกมารภัจจ์ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำราชวงศ์สักยะและเป็นแพทย์ประจำพระองค์พระพุทธเจ้า ได้เป็นผู้ริเริ่มขึ้นในสมัยพุทธกาล ได้แพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด พบว่ามีการนวดกันเฉพาะแต่ในรั้วในวัง โดยจะนวดแต่พระเจ้าแผ่นดินหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น
ต่อมาภายหลังจึงเริ่มกระจายไปสู่บุคคลทั่วไป เนื่องจากผู้นวดมีอายุมากขึ้นและเกษียณราชการได้กลับไปอยู่บ้านแล้วได้ถ่ายทอดวิชาให้แก่ลูกหลานสืบต่อกันมา
การนวดไทย เป็นการสืบทอดมรดกที่มีมาแต่โบราณโดยการถ่ายทอดความรู้จากบรรพบุรุษจนถึงรุ่นลูก สู่รุ่นหลาน และรุ่นต่อๆ มา ซึ่งนำมาจากประสบการณ์ที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะที่มีความละเอียดอ่อน มีความซับซ้อน การนวดจึงเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีบทบาทในการบำบัดอาการปวดเมื่อย และอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ส่วนการนวดสัมผัสปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย เป็นศาสตร์และศิลปะที่มีการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น หลายชั่วอายุคนมาแล้ว ศาสตร์การนวดสัมผัสปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายนี้ ไม่ใช่เป็นการรักษาให้หายจากอาการที่เป็นอยู่ แต่เป็นการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ

การนวดสัมผัสปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย(ปรับจัดกระดูกไทย)

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920523
This Month : 20910
Total Users : 1530036
Views Today : 8025
Server Time : 2024-09-20