การดูแลสุขภาพและบำบัดโรคด้วยสมาธิและจิตใต้สำนึก

ร่างกายของคนเราถูกควบคุมโดยสมอง ไขสันหลังและระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งจะส่งคำสั่งมายังอวัยวะต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำงานตามหน้าที่ เราพบว่าการสั่งการเหล่านี้ต้องอาศัยพลังงานที่หมุนเวียนอย่างสมดุลในร่างกาย พลังงานดังกล่าวทางอินเดียเรียกว่า ปราณ ทางจีนเรียกว่า ชี่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับจุดตำแหน่งต่างๆ ในร่างกาย

ตำแหน่งจุดต่างๆ ของร่างกาย ทางจีนมีไว้สำหรับฝังเข็มและกดจุด เพื่อกระตุ้นพลังงานที่มาควบคุมอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีมากมายหลายจุด ส่วนในทางอินเดียกล่าวถึงจุดที่สำคัญอยู่ 7 จุด นั่นก็คือ จักระทั้งเจ็ด นั่นเอง

จักระที่ 1 อยู่รอบปากทวารหนัก ดูดซับพลังงานจากพื้นดินขึ้นมาหล่อเลี้ยงร่างกายของคนเรา
จักระที่ 2 อยู่ตรงปลายกระดูกก้นกบ ควบคุมเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
จักระที่ 3 อยู่ตรงสะดือ ควบคุมระบบการย่อยอาหาร ทำให้กระเพาะและลำไส้ทำงานได้เป็นปกติจักระที่ 4 อยู่ตรงกลางหน้าอก ควบคุมการเต้นของหัวใจ ระดับความดันโลหิตและการสูบฉีดโลหิตจักระที่ 5 อยู่ตรงคอหอย ควบคุมระบบการหายใจและผิวหนัง รวมทั้งภูมิต้านทาน
จักระที่ 6 อยู่ตรงหน้าผาก ควบคุมเรื่องความนึกคิด การหยั่งรู้
จักระที่ 7 อยู่ตรงกลางกระหม่อม ดูดซับพลังงานจากจักรวาลมาหล่อเลี้ยงร่างกายของเรา และควบคุมการทำงานของสมอง ควบคุมความเจ็บปวด ควบคุมจักระอื่นๆ

เราจะเห็นว่าจักระ 1 กับ จักระ 7 สำคัญมาก เพราะมีหน้าที่ดูดซับพลังงานจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายของเราในขณะเดียวกันจักระอื่นๆก็มีความสำคัญ เพราะควบคุมระบบการทำงานในร่างกาย

พลังงานที่หมุนเวียนในร่างกายของคนเรา มันมีเส้นทางการโคจรที่แน่นอนสม่ำเสมอ เมื่อไรก็ตามที่เกิดการสะดุดหรือติดขัด เราจะเจ็บป่วยได้ทันที การกระตุ้นให้พลังงานในร่างกายหมุนเวียนอย่างสม่ำเสมอ ทำได้หลายวิธีซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การกำหนดจิตเพื่อกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของพลังงาน โดยหลักการก็คือ เมื่อจิตนิ่งที่จุดใดจุดหนึ่ง พลังงานจะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งนั้น และเมื่อเคลื่อนจิตไปอยู่อีกจุดหนึ่ง พลังงานก็จะเคลื่อนตามจิตไปด้วย ถ้าเราหมั่นฝึกจิตเพื่อเคลื่อนพลังงานบ่อยๆ ร่างกายเราก็จะแข็งแรง สุขภาพดีทั้งกายและใจ เรามาทดลองกำหนดจิต เพื่อหมุนเวียนพลังในร่างกาย โดยทำตามวิธีต่อไปนี้

การกำหนดจิตผ่านจักระทั้ง 7

หลับตานั่งในท่าสบายและผ่อนคลาย กำหนดจิตนิ่งที่กลางกระหม่อมก่อน เมื่อจิตนิ่งแล้ว ค่อยๆเคลื่อนจิตลงมาที่กลางหน้าผาก แล้วลงมาที่คอหอย ต่อลงมาที่กลางหน้าอกลงมาที่สะดือ ต่อลงมาที่ท้องน้อย แล้วมาสิ้นสุดที่ปากทวารหนักจากนั้นเราจะเคลื่อนจิตย้อนกลับขึ้นไป จากปากทวารหนักขึ้นไปสู่ช่องท้องน้อยแล้วไปที่สะดือ ไปที่หน้าอก คอหอย หน้าผาก แล้วมาหยุดที่กลางกระหม่อมทำวนเวียนแบบนี้ซ้ำๆ กันสัก 3-5 รอบ ท่านจะรู้สึกว่าร่างกายกระชุ่มกระชวยขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเป็นการกระตุ้นระบบการทำงานทุกระบบในร่างกายมีหลายท่านสงสัยว่าการกำหนดจิตให้นิ่งทีละจุด มีเทคนิคในการทำอย่างไร ไม่ยากครับ ให้หยุดความนึกคิดต่างๆ ให้เอาความรู้สึกนึกคิดมาอยู่ตรงจักระทีละจักระ กำหนดจิตที่จักระไหน ก็คิดถึงแต่ตำแหน่งที่ตั้งของจักระนั้นๆ ไม่ให้จิตวอกแวกหลุดไปไหน

จินตภาพเพื่อสุขภาพ

*จินตภาพมีอิทธิพลต่อชีวิตจินตภาพ คือ การสร้างภาพขึ้นในความคิด จะเป็นภาพอะไรก็ได้ ซึ่งจินตภาพที่ว่านี้มีอิทธิพลต่อชีวิตของคนเราอย่างมากมายมีคนกล่าวไว้ว่า ชีวิตของเราจะไปในทิศทางไหน อันดับแรกต้องเริ่มต้นจากภาพในความคิดก่อน โครงการต่างๆหรือกิจกรรมใดๆก็แล้วแต่ ต้องเริ่มต้นจากการสร้างภาพในความคิดก่อน แล้วจึงนำไปสู่การ ลงมือกระทำจินตภาพที่คนสร้างขึ้นจะเป็นข้อมูล ที่สามารถลงสู่จิตใต้สำนึกได้ และจะมีผลต่อคนๆ นั้นในอนาคตคนที่มีจินตภาพในเชิงบวก เชิงสร้างสรรค์ ชีวิตของเขาก็จะถูกผลักดันไปในทางที่ดี ก้าวหน้าขึ้น ประสบความสำเร็จ ส่วนคนที่มีจินตนาการในเชิงลบเชิงถดถอย ชีวิตของเขาก็จะถูกผลักดันไปในทางที่แย่ ถอยหลังและล้มเหลวจินตภาพจึงเหมือนตัวจุดประกาย หรือปัจจัยที่จะกระตุ้นให้ตัวเราไปสู่เป้าหมายตามภาพที่เราสร้างขึ้นในจิตใจ มีการค้นพบว่า จินตภาพเชิงบวก สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตและสุขภาพได้ทุกเรื่อง

*การแก้ไขปัญหาสุขภาพด้วยจินตภาพสมาธิ
คือ การกำหนดภาพเชิงบวกขึ้นในใจ เป็นภาพที่สามารถเอาชนะปัญหาสุขภาพของเราได้ เมื่อกำหนดภาพได้แล้ว ต่อจากนั้นก็ทำสมาธิกำหนดจิตนิ่งที่จุดใดจุดหนึ่ง เช่น ที่กลางกระหม่อมหรือหน้าผาก เพื่อให้จิตใต้สำนึกเปิด รับเอาข้อมูลที่เป็นภาพเชิงบวกเราสร้างขึ้นในใจไปเก็บไว้ เพื่อผลักดันให้เราไปสู่สภาพที่เราต้องการ ตามจินตภาพนั้นๆ การทำจินตภาพสมาธิ ก็เป็นการป้อนข้อมูลเข้าสู่จิตใต้สำนึก เหมือนกับการป้อนข้อมูลด้วยคำพูด ต่างกันแค่ลักษณะและรูปแบบของข้อมูลเท่านั้นคือข้อมูลแบบคำพูดกับข้อมูลแบบภาพต่อไปนี้จะยกตัวอย่างการทำจินตภาพสมาธิ เพื่อเอาชนะปัญหาสุขภาพ1. ถ้าท่านเป็นคนนอนหลับยาก ท่านอาจจะสร้างภาพในความคิดว่ากำลังหลับสบายบนทุ่งหญ้าสีเขียวใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ร่มรื่น ลมพัดเย็นๆ บรรยากาศสบายและผ่อนคลาย2. ถ้าท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง เช่นความดันโลหิตตอนนี้อยู่ที่170 และท่านต้องการจะลดให้มันลงมาอยู่ที่ 130 ท่านก็สร้างภาพของแก้วน้ำใบหนึ่ง ที่มีขีดบอกระดับอยู่ 2 ขีด ขีดบนระบุตัวเลข 170 ขีดล่างระบุตัวเลข 130 ตอนแรกให้สร้างจินตนาการว่า ระดับน้ำอยู่ที่ขีด 170 จากนั้นนึกภาพว่า ระดับน้ำในแก้วค่อยๆ ลดลง จนมาหยุดอยู่ที่ 1303. ถ้าท่านเป็นมะเร็ง ขอให้จินตนาการว่า มีก้อนเนื้อก้อนหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวแทนของเซลล์มะเร็งอยู่ในร่างกายท่าน และก้อนเนื้อนั้นเริ่มมีขนาดเล็กลงๆจนกระทั่งมันหายวับไปกับตา หรือสร้างภาพว่า มีปืนหลายๆกระบอก ระดมยิงใส่ก้อนเนื้อดังกล่าว จนกระทั่งมันแหลกเป็นจุล4. ถ้าท่านเป็นโรคภูมิแพ้ ขอให้สร้างภาพในใจขึ้นมาว่า ร่างกายของท่านตอนนี้ มีจุดดำๆ เต็มไปหมด จุดดำเป็นตัวแทนของสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายซึ่งจะไปกระตุ้นให้เราเกิดอาการแพ้ขึ้นมา จากนั้นสร้างจินตภาพว่ามีไม้กวาดอันหนึ่งเกิดขึ้นในร่างกายของเรา ไม้กวาดนี้ค่อยๆ กวาดจุดสีดำในตัวเราออกไป จุดดำค่อยๆ น้อยลง จนในที่สุดก็หายไปหมด

ขั้นตอนการป้อนข้อมูลเข้าสู่จิตใต้สำนึก ด้วยจินตภาพสมาธิ ก็เหมือนกับการป้อนข้อมูลด้วยคำพูด มีขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ
1. หลับตากำหนดลมหายใจเข้าออก โดยเมื่อหายใจเข้าให้นึกเห็นเป็นควันสีขาว เข้าไปพร้อมกับลมหายใจเข้าไปเต็มปอด แล้วกระจายไปทั่วร่างกาย เมื่อหายใจออก ให้นึกเห็นภาพควันสีดำ ออกมาพร้อมกับลมหายใจ2. สร้างจินตภาพเชิงบวกที่ต้องการขึ้นในความคิด เช่นภาพที่ตัวเองหายป่วย มีกำลังวังชา วิ่งไปได้ไกลๆโดยไม่เหนื่อย เมื่อสร้างภาพในจิตใจได้แล้ว ให้รีบทำขั้นตอนต่อไปทันที3. กำหนดจิตนิ่งที่กลางกระหม่อมหรือหน้าผาก เพื่อให้จิตใต้สำนึกเปิด เพื่อจะได้รับเอาข้อมูลที่เราสร้างขึ้นในใจเข้าไปเก็บไว้ เพื่อผลักดันให้เรามีสุขภาพดีตามจินตภาพที่เราส่งให้กับจิตใต้สำนึก

ตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับจินตภาพสมาธิ

Crawford and Gruzilier (1992) ได้ศึกษาสรีรวิทยาของระบบประสาทในระหว่างการจินตนาการว่า มีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง และพื้นที่ที่ถูกกระตุ้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับภาพที่เราจินตนาการขึ้นมาMarshal et al (1997) ได้ทำการวิจัยโดยให้ผู้ป่วยอัมพาตสั่งให้ขาตนเองเคลื่อนไหวด้วยการคิดเป็นภาพ ในระหว่างนั้นได้ทำการตรวจสมองด้วย PET scan (Positron Emission Tomography) ซึ่งเป็นการตรวจสมองที่แสดงให้เห็นถึงการดูดซึมของสารเคมีในสมองและการใช้พลังงานจากเมตาโบลิซึมของเซลล์ประสาทในสมอง พบว่าเมื่อผู้ป่วยจินตนาการว่าตนเองกำลังขยับขาข้างซ้ายที่เป็นอัมพาตให้เคลื่อนไหว จะมีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของขาซ้ายมากขึ้น โดยสมองส่วนนี้จะถูกกระตุ้นมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5919866
This Month : 20253
Total Users : 1529379
Views Today : 4563
Server Time : 2024-09-20