ชื่องานวิจัย : การดูแลสุขภาพและการรักษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์พื้นบ้านในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง : ประทักษ์วัล   สุขสำราญ
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 6
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2008
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การศึกษาการดูแลสุขภาพและรักษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์พื้นบ้าน ในเขตพื้นที่ชนบทอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 14 ตำบล เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาอาการเจ็บป่วย โรคทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ที่หมอพื้นบ้านยังทำการรักษาผู้ป่วยอยู่ในปัจจุบัน, การถ่ายทอดภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน และปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้าน. กลุ่มตัวอย่างเป็นหมอพื้นบ้านที่ไม่มีใบประกอบโรคศิลปะ และทำการรักษาผู้ป่วยมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปี. สุ่มตัวอย่างตามระบบได้ตัวอย่าง 55 คน เป็นหมอไสยศาสตร์, หมอยาสมุนไพร, หมอน้ำมนต์คาถา, หมอพิธีกรรม, หมอนวด, หมอตำแยและหมอที่มีความชำนาญในการรักษามากกว่า 1 สาขา (หมอผสมผสาน). การศึกษาพบว่าหมอพื้นบ้านมีเศรษฐานะค่อนข้างต่ำ มีรายรับจากค่ารักษาน้อย. วิธีรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นแบบผสมผสาน นิยมใช้การเป่าคาถาร่วมกับวิธีการรักษาอื่น ๆ. ส่วนหมอตำแยไม่ทำคลอดแต่ยังให้การดูแลหญิงมีครรภ์และหญิงหลังคลอด และรักษาผู้ป่วยโรคอื่น ๆ. อาการเจ็บป่วยที่หมอพื้นบ้านทำการรักษาเป็นประจำและได้ผลดี ได้แก่ กำเลิด, แผลอักเสบ, งูสวัด, บาดแผลสดและอุบัติเหต. สมุนไพรที่ใช้รักษามีอยู่ในหมู่บ้านและป่าชุมชน จะนำมาปรุงเป็นยาตำรับยาฝน ยาต้ม ยาฝุ่น ยาลูกกลอน ยาทา ยาพอกและยาประคบ, ไม่ใช้ยาสมุนไพรให้ผู้ป่วยกินร่วมกับยาแผนปัจจุบัน. ส่วนการประกอบพิธีกรรมที่ใช้ในการรักษา ได้แก่ การไล่ผี, การสู่ขวัญ, การสะเดาะเคราะห์, การส่อนขวัญ และการรำผีฟ้า. ผู้ป่วยมักไปรับการรักษาที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลก่อนแล้วจึงจะให้หมอพื้นบ้านทำการรักษา ซึ่งรวมถึงรายที่รักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันไม่หาย หรือหมดทางรักษา; การรักษามีทั้งได้ผลและเป็นการรักษาแบบประัคับประคอง. ตำราการแพทย์พื้นบ้านยังมีอยู่แต่ขาดการดูแลเก็บรักษาที่ดี. การถ่ายทอดภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านมีน้อยและหาผู้ที่มีความสนใจศึกษาอย่างจริงจังได้ยาก. หน่วยงานภาครัฐมีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุน ฟื้นฟูการแพทย์พื้นบ้านน้อย. จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ค่าพี < 0.05 พบว่าหมอพื้นบ้านที่รักษาด้วยพิธีกรรม (หมอผสมผสานและหมอพิธีกรรม) มีลักษณะที่แตกต่างจากหมอสาขาอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ มีอายุมากกว่า, มีจำนวนผู้ป่วยที่ทำการรักษามากและมีการถ่ายทอดทางภูมิปัญญามาก. สำหรับวิธีการรักษาผู้ป่วยพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างจำนวนผู้ป่วยกับการรักษาด้วยการนวด รวมถึงการรักษาด้วยสมุนไพรหรือวิธีการแบบพื้นบ้านร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันกับจำนวนโรคที่หมอพื้นบ้านบำบัดได้หลายชนิด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยพิธีกรรม การนวด และการใช้สมุนไพร ยังคงดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของชาวชนบท ท่างกลางปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นทั้งตัวเสริม, ปัญหาและอุปสรรคต่อระบบการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน.

 

คำสำคัญ: การแพทย์พื้นบ้าน, หมอพื้นบ้าน, การดูแลสุขภาพ, การรักษาผู้ป่วย, การบำบัดโรค

 

This descriptive research study on traditional health care and healing with folk medicine was conducted in the rural areas of 14 tambons in Amphur MuangKhon Kaen Province. The purposes of the study were to determine the types of illnesses and symptoms, both physical and mental, that are still currently treated by folk healers, the transfer of knowledge about folk medicine, and factors affecting the existence of folk healers. The subjects were folk healers who do not hold a license as a traditional Thai medicine practitioner but who have not less than 20 years of experience. Fifty-five subjects were selected by systematic random sampling, including magic healers, herbalists, mor nammon (holy water healers), ritual healers, massage healers, midwives, and healers having more than one area of expertise. It was found that folk healers are in a relatively low financial stratum and receive a low fee for healing. The treatment procedures are mostly mixed, usually involving “blowing methods” combined with other types of treatments. Midwives no longer help to deliver babies but provide pre- and post-natal care and treatment for some minor illnesses. Health conditions and symptoms that folk healers often and successfully treat are kum lerd (baby or young child crying constantly without any obvious health problem), inflamed wounds, herpes zoster, fresh wounds and accidental injuries. The medicinal plants used are those found or grown in the village and community forest. The herbs are prepared and prescribed in the forms of yafon (sanding medicine), ya foon (powdered medicine), pills, paste, poultice, and herbal compress. Folk healers do not prescribe herbal medicines to be taken together with modern medicines. The types of rituals used in the healing process are, e.g., lai pe (chasing evil spirit), su kwan (welcoming back the spiritual part of the body), sador kraw (performing a ceremony to change one’s bad fortune), son kwan(bringing back the spiritual part of the body that had been lost), and lum pe fa (traditional singing and dancing ceremony to help treat patients). Patients usually receive medical care from health service centers or hospitals before seeing folk healers; another group of patients are those who suffer from diseases that modern medicine cannot cure. Some folk healing processes are effective and some are only palliative. The textbooks on folk healing are still available but are not kept in good condition. The transfer of folk medicine knowledge is limited as there are only a very small number people who are interested in this field. Government offices have played a minor role in promoting, supporting or reviving folk medicine. Statistical analysis of the data showed that folk healers who used rituals in their treatment (healers that used mixed methods and ritual healers) are statistically significantly different from other types of healers (p<0.05), namely, they are older, have more patients, and more commonly transfer their knowledge. Significant correlations are found between the number of patients that healers treat in a month and massage treatment, treatment with folk medicine combined with modern medicine and diseases folk healers commonly treated. The study shows that the treatment of health conditions and symptoms with rituals, massage, and herbal medicine are still a way of life of people in the rural areas in Muang District, Khon Kaen Province, while there are various factors that either support or hinder the health-care system using folk medicine.

 

Key words: folk medicine, folk healer, health care, healing

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ประทักษ์วัล สุขสำราญ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920191
This Month : 20578
Total Users : 1529704
Views Today : 6610
Server Time : 2024-09-20