ชื่องานวิจัย : การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดแบบพื้นบ้านภาคเหนือ: กรณีศึกษาที่บ้านหัวเสือ ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
ผู้แต่ง : ยุพา   อภิโกมลกร
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 6
ฉบับที่ : 2
ปีที่วิจัย : 2008
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนและแบบแผนในการดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดแบบพื้นบ้านภาคเหนือ และวิธีการสืบทอดความรู้ในการดูแลหญิงหลังคลอด ที่บ้านหัวเสือ ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย และเป็นแนวทางในการพัฒนาการแพทย์แผนไทย. การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเข้าไปสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มกับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีประสบการณ์ 7 คน. การตรวจสอบความแม่นตรงและความเชื่อถือได้ของข้อมูล ทำโดยวิธีการตรวจแบบสามเส้า. จากการศึกษาพบว่าบ้านหัวเสือเป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งมานานกว่า 400 ปี เป็นชุมชนชนบทที่กำลังเปลี่ยนแปลงสู่สภาพสังคมเมือง, ประชากรมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติค่อนข้างสูง, ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม, ชุมชนยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่น ทั้งด้านศาสนา อาชีพและวัฒนธรรมสุขภาพ, แบบแผนการดูแลหญิงหลังคลอดเป็นแบบพื้นบ้านดั้งเดิม คือ การ “อยู่เดือนไฟ” สืบทอดจากความรู้ในครอบครัว. สรุปผลการวิจัยว่ารูปแบบการดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดนี้มีพื้นฐานมาจากความเชื่อเรื่องดุลยภาพของธาตุ เป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามแบบการแพทย์พื้นบ้านภาคเหนือ และมีการใช้ชนิดสมุนไพรที่สัมพันธ์กับระบบนิเวศน์ของท้องถิ่น.

 

คำสำคัญ: การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอด, การแพทย์พื้นบ้านภาคเหนือ

 

The objectives of this study were to explore community circumstances, traditional postpartum care and passing of knowledge in postpartum care of Bann Hua SueaTambon Hua Suea, Mae Tha District, Lampang. Understanding community relevance will assist in gathering information on locality protection and improve traditional medicine. Qualitative research methods, observation, interviews and group discussions were employed for data collection. The key informants included seven elderly persons and those who had experienced traditional postpartum care. Triangulation was used to ensure validity and precision. The findings showed that Bann Hua Suea, a 400-year-old village, was urbanizing. However, a close relationship among relatives was preserved. Most of the community members worked in the agricultural sector. The indigenous culture with regard to religion, occupation and health cares was kept alive. The traditional post-delivery care is called yu-duean-fai or “lying by fire.” The knowledge was passed on within the family. The findings indicated that traditional postpartum care is based upon beliefs regarding a balance of elements and holistic care of the northern style of traditional medicine. Furthermore, the herbs selected were associated with the local ecology.

 

Key words: health care, indigenous medicine, postpartum care

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text):  –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ยุพา อภิโกมลกร

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920165
This Month : 20552
Total Users : 1529678
Views Today : 6515
Server Time : 2024-09-20