การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วยเทคนิคการแพทย์ผสมผสาน

เรียบเรียงโดย : ยิ่งศักดิ์ จิตตะโคตร์ (1)

ความเร่งรีบการทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพของประชากรโลก ส่งผลให้สถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น พบมากในกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ร้อยละ 90ไม่ทราบสาเหตุเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งองค์การอนามัยโลกรายงานไว้ว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนอายุสั้น ซึ่งทั่วโลก มีผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 1,000 ล้านคน เสียชีวิตปีละเกือบ 8 ล้านคน เฉลี่ยประมาณนาทีละ 15 คน โดย 1 ใน 3 พบในวัยผู้ใหญ่ และคาดว่าในปี พ.ศ.2568 ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั้งโลกจะป่วยเป็นโรคนี้เพิ่ม 1,560 ล้านคน
สำหรับกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายควบคุมโรคความดันโลหิตสูง1 โดยให้ทุกพื้นที่ตรวจคัดกรองและรณรงค์ให้ประชาชนตรวจสุขภาพประจำปี พบว่าโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 23 ล้านคนทุกปี แล้วแบ่งความดันโลหิตสูง ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคนปกติ กลุ่มที่มีความเสี่ยง และกลุ่มที่ป่วย  ปี 2556 คนไทยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตเกือบ 11 ล้านคน เสียชีวิต 5,165 คน และพบป่วยรายใหม่ เพิ่มเกือบ 1 แสนคน ร้อยละ 50 ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในกลุ่มที่ป่วยแล้วมีเพียง1ใน 4 ที่ควบคุมความดันโลหิตได้
จากการศึกษา ของแพทย์สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา กล่าวว่า การแพทย์แบบทางเลือกอย่างการออกกำลังกายแบบแอโรบิคและการบริหารกายจิต ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้(2)  และการศึกษาของทัศนีย์ ศรีญาณลักษณ์และคณะ (2554) พบว่า รูปแบบที่มีผลการใช้อยู่ในระดับมากได้แก่ โยคะ ชีวจิต และชี่กง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง นำรูปแบบที่ผู้ป่วยนำมาใช้ในการจัดการอาการได้แก่ การนวด สมาธิ และอาหารและสมุนไพร       แสดงให้เห็นถึงการเลือกใช้และผลการใช้การดูแลแบบผสมผสานในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและจัดระบบการดูแลแบบผสมผสานร่วมกับการดูแลระบบการแพทย์ปัจจุบันแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างเหมาะสม(3)  และจากความรู้ทางวิชาการของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย สำนักการแพทย์ทางเลือก กล่าวไว้ว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ หรือ 8อ (อโรคยา อิริยาบถ อุเบกขา อากาศ อาจิณ อุดมปัญญา และอาชีพ) นำมาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับโรคเรื้อรัง ต่อไป(4)


คู่มือดูแลผู้ป่วยความดันสูง

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920307
This Month : 20694
Total Users : 1529820
Views Today : 7412
Server Time : 2024-09-20