ชื่องานวิจัย : การคัดกรองสารยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากสารสกัดสมุนไพรไทย
ผู้แต่ง : ดวงเพ็ญ   ปัทมดิลก
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 8
ฉบับที่ : 2-3
ปีที่วิจัย : 2010
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองสารสกัดจากสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอล ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ดังกล่าวเป็นเป้าหมายหนึ่งในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง จากการศึกษาผลของสารสกัดสมุนไพรต่อการยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอล จำนวน 14 ชนิดสารสกัด โดยประเมินระดับคอเลสเตอรอลที่ติดฉลากด้วยสารกัมมันตรังสีที่ผ่านเข้าสู่เซลล์ Caco-2 และใช้ ezetimibe เป็น positive control พบว่า มีความเข้มข้น 100 มคก./มลสารสกัดเข้มข้นจากใบฝรั่ง (PG) มีฤทธิ์ดีที่สุดโดยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลได้ 43% สารสกัดน้ำและเอทานอลจากใบตะลิงปลิง (ABL-1 และ ABL-2)        และสารสกัดเอทานอลจากใบบัวหลวง (NNยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลได้34-36%  สารสกัดเอทานอลจากใบมะรุม (MO-1) ใบยอ (MC)  ใบย่านาง (TT-1และน้ำคั้นจากผลตะลิงปลิง (ABFยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลได้ 20-30%  นอกจากนี้ ที่ความเข้มข้น 500 มคก./มลสารสกัด MO-1และ TT-1 สามารถยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นเป็น 51% และ 37% ตามลำดับ สารสกัดสมุนไพรที่ไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้งการนำเข้าคอเลสเตอรอลในความเข้มข้นที่ทำการทดสอบ ได้แก่ สารสกัดเอทานอลจากใบชะมวง(GC), ใบมะกรูด (CH) , ส่วนใต้ดินปัญจขันธ์ (GP), สารสกัดน้ำจากใบมะรุม (MO-2), ใบย่านาง (TT-2และสารสกัดข่า (AC) ผลการวิจัยนี้สามารถคัดเลือกสมุนไพรที่มีศักยภาพในการยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลเพื่อศึกษาถึงสารออกฤทธิ์ต่อไปได้

คำสำคัญ:  การยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลสมุนไพรไทย

The aim of this investigation was to screen Thai medicinal plant extracts for cholesterol uptake inhibitory activity, a new therapeutic target in the treatment of hyperlipidemia. The effects of 14 plant extracts on cholesterol uptake inhibition were observed by determining the level of incorporated labelled cholesterol into Caco-2 cells. Ezetimibe was used as positive control. At the concentration of 100 μg/ml, the ethanol extract of Psidium guajava (PG) leaves showed the strongest activity at 43 percent cholesterol uptake inhibition. Water extract and ethanol extract of Averrhoa bilimbi leaves (ABL-1 and ABL-2) and ethanol extract of Nelumbo nucifera (NN) leaves displayed the inhibition between 34-36 percent. Ethanol extract from leaves of Moringa oleifera (MO-1), Morinda citrifolia (MC), Tiliacora triandra (TT-1) and water extract from fruits of A. bilimbi (ABF) exhibited cholesterol uptake inhibition between 20 and 30 percent. At the concentration of 500 μg/ml, the cholesterol uptake inhibitory effect of MO-1 and TT-1 was increased to 51 and 37 percent, respectively. The ethanol extract from leaves of Garcinia cowa (GC), Citrus hystrix (CH), the underground part of Gynostemma pentaphyllum (GP), water extract from leaves of M. oleifera (MO-2), T. triandra (TT-2) and SFE extract of Alpinia galanga (AG) showed no inhibitory activity. The result of this investigation has led to further isolation of cholesterol uptake inhibitors from potential Thai medicinal plants.

Key words: Cholesterol uptake inhibition, Thai medicinal plants

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ดวงเพ็ญ ปัทมดิลก และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920937
This Month : 21324
Total Users : 1530450
Views Today : 557
Server Time : 2024-09-21