เอกสารวิชาการสรุป เรื่อง การบำบัดแบบโฮมิโอพาธี (2)
โดย : ภญ.มณฑกา ธีรชัยสกุล
กองการแพทย์ทางเลือก
บทที่ 2
องค์ความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
เป็นช่วงเวลาหลายสิบปีมาแล้วที่เริ่มมีการค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์ในหลาย สาขา ทั้งทางฟิสิกส์ และชีววิทยาที่พบว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
ความสัมพันธ์ระหว่างธรรม-ชาติกับมนุษย์นั้นมิได้เป็นไปตามความเข้าใจแบบเดิม ๆ อีก ทั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพ พัฒนาไปสู่วิชาฟิสิกส์ใหม่ และชีววิทยาใหม่ที่บ่งให้เราทราบว่าสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาตินั้นเป็นตัวกำหนดมนุษย์ มิใช่มนุษย์เป็นผู้กำหนดธรรมชาติ ดังนั้นจึงเกิดกระบวนการทบทวนวิถีปฏิบัติที่ผ่าน ๆ มาในระยะ 200 กว่าปีของมนุษย์เผ่าพันธุ์ในปัจจุบันที่พัฒนาทุกอย่างไม่เว้นแม้แต่สายพันธุ์ของตัวเองและสิ่งรอบข้างที่ธรรมชาติเป็นผู้กำหนดให้ พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มีมากพอ ไม่ป่วย และไม่ตาย หรืออาจพูดง่ายๆ ว่าเป็นทัศนวิสัยแบบไม่เคยพอ ซึ่งสวนทางกับวิธีคิดและวิถีปฏิบัติของชาวพุทธเป็นอย่างยิ่ง
อาจกล่าวได้ว่าความนิยมในเรื่องการแพทย์ทางเลือกของประชาชนนั้นกลับมาพร้อม ๆ กับความคิดและทฤษฎีฟิสิกส์ใหม่และชีววิทยาใหม่ ที่แม้จะยังไม่สามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างกันได้แต่เรื่องบางเรื่องก็มีงานวิจัยออกมารองรับบ้างแล้ว และจากข้อมูลในเบื้องต้นก็จะพบว่าศาสตร์การแพทย์ทางเลือกที่ได้รับความนิยมเป็นส่วนใหญ่ (5 เรื่อง การแพทย์แผนจีน การแพทย์แบบอายุรเวท โฮมีโอพาธี ยูนานิ และไคโรแพรคเตอร์) เป็นระบบการแพทย์ที่เป็นการแพทย์พื้นบ้านของแต่ละชนชาติมาก่อนนั่นเอง ซึ่งระบบการแพทย์เหล่านี้มักจะมีคำอธิบายถึงร่างกายมนุษย์ที่ไม่สัมพันธ์กับตาที่เรามองเห็น (ยกเว้นไคโรแพรคเตอร์) เป็นภาพของมนุษย์ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาภายนอก ซึ่งมีนิยามที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า การแพทย์ในรูปแบบพลังงาน (Electromagnetic Vibrations, Vibrational medicine or Energy Medicine) และแม้แต่ในประเทศไทยเองแม้ว่าจะไม่มีการนำเอาทฤษฎีเหล่านี้มาพูดถึงอย่างกว้างขวางและเป็นระบบมากนัก แต่ก็มีการเริ่มตระหนักมากขึ้นว่าระบบการแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถที่จะรักษาผู้ป่วยได้ทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ซึ่งนอกจากการใช้ยาในระยะยาว จะมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยสูง อาจถึงขั้นคุกคามชีวิต(Life threatening) และไม่สามารถรักษาให้หายได้ อีกทั้งยังมีราคาค่าใช้จ่ายที่สูง จึงเกิดการกล่าวถึงทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ซึ่งเป็นการเตือนและชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ของระบบการแพทย์แผนปัจจุบันที่สามารถเติมช่องโหว่นั้นให้เต็มได้หากเราเข้าใจปัญหาที่แท้จริง
การแพทย์ในรูปแบบพลังงาน (Energy Medicine or Vibrational Medicine)
ความแตกต่างระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์ในรูปแบบพลังงาน คือ การแพทย์แผนปัจจุบันมองคนเป็นส่วนประกอบของอวัยวะต่าง ๆ (ทั้งภายในและภายนอก) ในขณะที่ การแพทย์ในรูปแบบพลังงานมองคนเป็นพลังงานที่มีความซับซ้อน
ตารางที่ 2.1 แสดงความแตกต่างหลักของการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แบบพลังงาน
Conventional Medicine Model | Vibrational Medicine Model |
Base on Newtonian Physics | Based on Einsteinian and QuantunPhysics |
See the brain as a bio-conputer with consciousness as a by-product of the brain’s electrical activity | Mind and Spirit are true sources of consciousness (the actual operator who runs the brain/bio-computer) |
Emotions thought to influence illness through neurohomonal connections between brain and body | Emotion and spirit can influence illness via energetic and neurohormonal connections among body, mind, and spirit |
Treatments with drugs and surgery to “fix” abnormal biomechanisms in the physical body | Treatment with different forms and frequencies of energy to rebalance body/mind/spirit conplex |
จากตารางที่ 2.1 จะเห็นได้ว่าความเข้าใจและองค์ความรู้ของการแพทย์ทั้งสองระบบนั้นแตกต่างกันทั้งในระดับแนวคิดและวิธีปฏิบัติ ซึ่งอาจกล่าวโดยรวมได้ว่าการแพทย์ในรูปแบบพลังงาน หมายถึง ทัศนคติทางการแพทย์ในรูปแบบใด ๆ ก็ตามที่มองคนเป็นพลังงานในหลายมิติ และนำเอาความแตกต่างของรูปแบบแรงสั่นสะเทือนและระดับความถี่ที่หลากหลายนั้นเข้ามาวินิจฉัยและบำบัดรักษาคนในภาพรวมทั้งหมด (เราคือพลังงานหนึ่งเดียวกัน)
ที่มาของการพัฒนาความเข้าใจเรื่องนี้นั้น มีการเติบโตมาพร้อม ๆ กับการค้นพบใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจในเรื่องของ ควอนตัมฟิสิกส์ มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์หลายการทดลองที่พบว่า เมื่อเราเหวี่ยงอนุภาคระดับใต้อะตอม (subatomic) ไปยังเป้าหมายที่อยู่ใน atom smashers เพื่อจะศึกษาถึงหน่วยย่อยลงไปอีกที่หล่อหลอมรวมกันเป็นโครงสร้างของวัตถุ แต่นักวิทยาศาสตร์กลับพบว่า สสารที่เราเห็นทั้งหมดแท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของพลังงานเท่านั้น (All matter is really a form of frozen energy) ณ จุดนี้เองจึงนำมาสู่ความเข้าใจในอีกมิติว่า แท้ที่จริงแล้วร่างกายของมนุษย์ ณ ระดับใต้อะตอม ก็คือ พลังงานซับซ้อนที่มีการสั่นสะเทือน และแกว่งในอัตราที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามความเข้าใจเหล่านี้ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นสิ่งที่ใหม่ทั้งหมด เพราะเครื่องมือทางการแพทย์แผนปัจจุบันเองก็ใช้ความเข้าใจในรูปแบบนี้อยู่บ้าง เช่น การวัด EKG ซึ่งก็คือ รูปแบบหนึ่งของพลังงานที่วัดได้จากความถี่พลังงานที่แตกต่างกันที่เกิดจากจังหวะการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ เรายังสามารถตรวจสอบได้โดยง่ายจากร่างกายของตัวเอง เราจะพบว่าแท้ที่จริงแล้วร่างกายมนุษย์ก็มีการใช้พลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดเวลา เช่น พลังงานจากการเผาผลาญอาหารภายในร่างกาย (Metabolism Energy) เป็นต้น
• พลังชีวิต (Vital Force, Chi or Prana)จากทัศนคติที่มองว่า สรรพสิ่งทั้งหลายก็คือพลังงานในหลาย ๆ รูปแบบนั้น นำมาซึ่งการแบ่งรูปแบบของพลังงานที่เป็นกลุ่มชีวพลังงานได้ดังตารางที่ 2.2
ตารางที่ 2.2 รูปแบบต่าง ๆ ของชีวพลังงานในมิติที่ซับซ้อนของความเป็นมนุษย์
Type of Bioenergy | Source of Bioenergy | Location of Bioenergy activity | Function of Bioenergy |
Metabolic energy | Fats, sugar, proteins essential nutrients (converted by body into ATP-cellular-energy currency) | Throughout the cells of the physicall body | Metabolic fuel to power basic cellular processes |
Bioelectrical energy | Nerves. muscles, heart, GI tract, brain trigger by flow of electrically charged ions across cell membranes | Transmitted through cells of nervous system and muscular system or organs and body muscle groups | Movement through space (body) Movement of blood, food, urine through body Communication between nervous system and the body’s organs (autonomic regulation) Information processing and perception (brain) |
Bone matrix affected by gravitational forces (piezoelectric effect) | Throughout the bones of the skeleton (especially weight-bearing bones) | Assists in bone remodeling for optimal bone strength | |
Current of injury (batter-like effect created by injury, tumors, infections, trauma) | Throughout the physical body (number one component of a larger body-wide electrical circulatory system) | Local repair of tissue damage, local healing response to tumors, infection, etc. | |
Bioelectronics energy (flow of intracellular electrons, probably from mitochondria in all cells of the body) | Bioelectronics currents may exist both within the cells of the body and possibly between cells (through intercellular matrix/Connective tissue) | May regulate internal cellular processes (such as cell division) | |
Biophotonic energy | UV biophotons, possibly emitted by DNA in cell nucleus | Within the nuclei of all cells of the body | Cell-to-cell coommunication |
Subtle Bioenergies (Subtle Magnetic Life Energies) | Chi-an environmental nutritive subtle energy absorbed directly from the environment, created from processing food, and inherited from parents-a form of life energy | Flows through the acupuncture meridians of the body (Certain types of Chi also flow through muscles, tendons, and skin) | Nutritive subtle-energetic support, coordination of organ activities, Defense against illness |
Prana-another environmental nutritive subtle energy (carried by oxygen and sunlight) | Flows thru chakras and threadlike nadis | Nutritive subtle-energatic support for the organs and tissues of the organs and tissues of the body | |
Etheric energy (possibly equivalent to basic life energy) | Flows through charkas of etheric body and through ethereal fluiduim (Ground substance/ connective tissue of the etheric body) flows throughout entire etheric body | Provides subtle energetic growth template for physical body Aids in growth, developmaent, ad repair of trauma to physical body Distortion in etheric body leads to cellular distortion in the physical body | |
Subtle Bioenergies (Subtle Magnetic Life Energies) | Astral energy | Flows through astral body and astral charkas Astral throught forms in auric field | Emotional-energy processing |
Mental energy | Flows through mental body and mental charkas Mental thought forms in auric field | Intellectual functioning, creativity, abstract thought | |
Higher spiritual energies | Flows through higher spiritual bodies (casual body and higher bodies of light) | The flow of soul energy into physical form Repository of soul’s memories (forom lifetime to lifetime) |
พลังชีวิต (Vital force, Chi or Prana) เป็นชีวพลังงานในระดับละเอียด (Subtle energy) ที่มีอยู่ในจักรวาลและมีบทบาทเสมือนโปรแกรม/ข้อมูลที่มีผลต่อกระบวนการของสิ่งมีชีวิตในทุกระดับตั้งแต่สรีรวิทยา จิตวิทยาและด้านจิตใจ มีรายงานทางวิทยาศาสตร์หลายรายงานที่พบว่าชีว-พลังงานระดับละเอียดดังกล่าวนั้นมีอยู่จริงและสัมพันธ์กับกายภายนอก โดยที่มีการสื่อสารระหว่างกัน (กายเนื้อและกายที่เป็นพลังงาน) อยู่ตลอดเวลาเสมือนกับปรากฏการณ์เสียงสะท้อน (Resonance)
จากรายงานการทดลองของ ศาสตราจารย์ Joie Jones และคณะ ของมหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย โดยการใช้ MRI อ่านค่าสัญญาณที่มาจาก Visual Cortex ของสมองจากการใช้การฝังเข็มที่จุด BL67 (อยู่บริเวณนิ้วเท้า) พบว่า ภาพสัญญาณที่ได้จากการฝังเข็ม ณ จุดดังกล่าวเหมือนกับการใช้ไฟ (Flashing light) ส่องเข้าที่ลูกตาโดยตรง และเมื่อเลื่อนตำแหน่งของการฝังเข็มออกไปจากจุดดังกล่าว (ระดับมิลลิเมตร) รอบ ๆ กลับพบว่าสัญญาณดังกล่าวหายไป ยิ่งไปกว่านั้นพบว่าสัญญาณที่เกิดจากการกระตุ้นที่จุดฝังเข็มมาถึง visual cortex เร็วกว่า สัญญาณชีวไฟฟ้า (Bioelectric Signal) ที่เกิดจากการส่องไฟไปที่ตาโดยตรง ถึง 1000 เท่า
รายงานการทดลองที่ชัดที่สุดที่แสดงว่ามีกายที่เป็นพลังงานแฝงอยู่จริงก็คือ การทดลองที่เรียกว่า ใบไม้ปีศาจ (Phantom leaf effect) เป็นการถ่ายภาพใบไม้โดยใช้อุปกรณ์ที่ชื่อว่า Kirlian Photographic (Gas Discharge Visualization) ซึ่งผู้คิดค้นเครื่องมือนี้คือ นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย Dr.Konstantin Korotkov กล่าวคือ มีการถ่ายภาพใบไม้ 2 ใบ เปรียบเทียบกันระหว่างใบไม้ที่ปกติกับใบไม้ที่ถูกตัดครึ่ง ผลพบว่าภาพถ่ายสนามพลังของใบไม้ทั้ง 2 ใบยังเหมือนกัน (เป็นรูปใบไม้เต็มใบทั้งคู่) แต่ภาพถ่ายสนามพลังของใบไม้ที่ถูกตัดนั้นมีรอยตัดของใบไม้อยู่ด้วย
นอกจากนี้ก็ยังมีรายงานการวิจัยที่ทำโดย นักฟิสิกส์ชาวจีน ศาสตราจารย์ Lu และคณะ ถึงการเปลี่ยนแปลงของการสั่นและหมุนของสเปกตรัมของของเหลว ที่เรียกว่า Ramen Spectra ภายใต้อิทธิพลของพลังชีวิต จากรายงานการทดลองจะพบว่า Ramen Spectra ที่ผ่านการถ่ายเทพลังชีวิตที่จำนวนชั่วโมงต่างกันจะแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าการดูดแสงสเปกตรัมของน้ำก็จะแตกต่างกันไปตามอิทธิพลของพลังชีวิตที่ได้รับ กล่าวคือ พลังชีวิตนั้นมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพของน้ำด้วย
ทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์
ทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงโดย ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งในที่นี้จะขอนำเอาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องมาเรียบเรียงเท่านั้นศาตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี กล่าวว่า แม้การแพทย์แผนปัจจุบันจะมีความมหัศจรรย์ต่าง ๆ อันปฏิเสธมิได้แต่ถ้าพิจารณาตำแหน่งแห่งหนหรือพื้นที่ของการแพทย์แผนปัจจุบันในปริมณฑลทางสุขภาพทั้งหมดจะเห็นว่า การแพทย์แผนปัจจุบันมีพื้นที่อยู่เล็กนิดเดียวดังรูปที่ 2.1
การแพทย์แผนปัจจุบันเกี่ยวข้องอยู่กับ “โรค” ที่นิยามได้ชัดเจน นั่นคือ โซน1 แต่ความเจ็บป่วยหรือไม่สบายส่วนใหญ่มักนิยามไม่ได้ชัดเจนว่าเป็น “โรค” อะไร หรือเรียกว่า “functional” บ้าง “ไม่รู้สาเหตุบ้าง” นั่นคือโซน2 ในโซนนี้แพทย์จะไม่สบายใจเลยเพราะไม่เข้าใจและไม่รู้จะทำอย่างไร ส่วนโซน3 คือ สุขภาพดี (Good Health) สุขภาพดีต้องมาก่อนสุขภาพเสีย การแพทย์แผนปัจจุบันสนใจโซน3 คือ สุขภาพดีน้อยมากเพราะเกี่ยวข้องอยู่กับ “โรค” เท่านั้น ทำให้การแพทย์ตกอยู่ในสถานะตั้งรับ คือ รอให้เจ็บป่วยแล้วก็ทุ่มเทรักษาซึ่งแพงมากและได้ผลไม่คุ้มค่า
การแพทย์ที่ถือ “โรค” เป็นหลักมีผลกระทบและผลสะเทือนหลายอย่างเป็นลูกโซ่บางประการดังนี้
1. ทำให้การแพทย์อยู่บนแกนทางกายภาพเท่านั้น
กล่าวคือ ต้องมีการตรวจพบรอยโรคทางกายภาพ หรือพบสารเคมีบางอย่างผิดปรกติ แต่ความเจ็บป่วยยังมีสาเหตุทาง “จิต” และ “สังคม” อีกด้วย ดังนั้นความเจ็บป่วยจึงต้องมี 3 แกนคือ กาย-จิต-สังคม ซึ่งการแพทย์แผนปัจจุบันยังคงดิ่งไปในแนวเดียวคือ คำนึงถึงแต่เหตุทางกายเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ความเจ็บป่วยที่มีเหตุมาจากทางจิตและทางสังคมมีมาก ความเจ็บป่วยเหล่านี้ตรวจไม่พบรอยโรคทางกายภาพ แต่ผู้ป่วยก็ไม่สบายจริง ๆ ซึ่งแพทย์ก็จะไม่เข้าใจ ไม่พอใจ รำคาญ หรือเกลียดคนไข้ประเภทนี้และดูแลรักษาไม่เป็นแพทย์จึงขาดความสามารถที่จะรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่เหล่านี้ หรือทำให้คนไข้หนักลง
2. การให้คนไข้ทั้งหมดเข้าสู่การตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยี ในขณะที่การรักษาส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเทคโนโลยีในสำนักงานคณะกรรมการประเมินเทคโนโลยี (Technology Assessment Board) ของ รัฐสภาอเมริกัน มีบันทึกอยู่ชิ้นหนึ่งว่า การประเมินว่าโรคหายเพราะอะไร พบว่าไม่ถึงร้อยละ 20 หายเพราะ specific technology นอกนั้นหายเพราะเหตุอื่น เช่น หายเอง หายเพราะplacebo หายเพราะการได้รับการเอาใจใส่ ฯลฯการที่คนไข้ส่วนใหญ่ไม่ได้หายจากเทคโนโลยีที่จำเพาะเจาะจงแต่แพทย์แผนปัจจุบันให้คนไข้ทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยและรักษาด้วยเทคโนโลยีจึงเป็นการสิ้นเปลืองได้ผล ไม่คุ้มค่า
3. การแพทย์ทางเลือกกระแสการแพทย์ทางเลือกกำลังเกิดขึ้นทั่วไป เพราะผู้ทุกข์ยากรู้สึกว่ายังมีวิธีการอื่น ๆ อีก ที่จะช่วยให้เขาดีขึ้น การแพทย์ทางเลือกจึงเกิดขึ้นทั่วไปแพทย์ที่เข้าใจแต่เรื่องโรคทางกายภาพจะไม่เข้าใจว่าการแพทย์ทางเลือกจะช่วยให้ผู้ป่วยหายได้อย่างไร ซึ่งเมื่อไม่เข้าใจก็อาจหงุดหงิด และต่อต้านทำให้ไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้
4. วิกฤตการณ์ของระบบสุขภาพระบบบริการสุขภาพในปัจจุบันเป็นระบบสุขภาพแบบตั้งรับคือ รอให้ป่วย จึงมีผู้ป่วยมาก เกินความจำเป็น ใช้เทคโนโลยีราคาแพงสำหรับปัญหาส่วนใหญ่ที่ไม่จำเป็น ทำให้ค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพสูง บุคลากรทางการแพทย์รับภาระไม่ไหว ผู้ป่วยไม่ได้รับการบริการที่ดีอาจกล่าวได้ว่า วิกฤตการณ์ของระบบสุขภาพเกิดจากทฤษฎีทางการแพทย์ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ที่ถือ “โรค” เป็นหลักดังกล่าวข้างต้น จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบสุขภาพ การเสนอทฤษฎีใหม่ทางสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบสุขภาพ
สุขภาพในความหมายใหม่ จึงหมายถึง สุขภาพคือดุลยภาพ ซึ่งแตกต่างกับสุขภาพคือ การไม่มีโรคมากกล่าวคือ ไม่เป็นโรคก็สุขภาพไม่ดีได้
ดุลยภาพเกิดจากความสัมพันธ์อันถูกต้องหรือลงตัวระหว่าง กาย-จิต-สังคม-สิ่งแวดล้อม และสภาวะของดุลยภาพหรือการเสียดุลยภาพในขณะใดขณะหนึ่งจึงเป็นพลวัตมาก (dynamic state of equilibrium)
ในทฤษฎีสุขภาพ คือ ดุลยภาพนี้เรื่องจิตมีบทบาทอย่างมากต่อดุลยภาพทั้งทางบวกและทางลบสมควรศึกษาให้เข้าใจอย่างละเอียด และนอกจากนี้ตามทฤษฎีนี้ การมีโรคถ้ารักษาดุลย-ภาพได้ก็มีสุขภาพที่ดีได้ ซึ่งถ้าตระหนักได้ดังนี้ โรงพยาบาลทั้งหมดอยู่ในฐานะที่จะส่งเสริมการมีสุขภาพดี ไม่ได้เป็นเพียงสถานรักษาโรค
จะเห็นความแตกต่างของการแพทย์ทฤษฎีเก่า (ทฤษฎีโรค) กับการแพทย์ทฤษฎีใหม่(ทฤษฎีสุขภาพ) ได้ดังตารางที่ 2.3
ตารางที่ 2.3 เปรียบเทียบมิติต่าง ๆ ระหว่างทฤษฎีโรคกับทฤษฎีสุขภาพ
มิติต่าง ๆ | ทฤษฎีการแพทย์เก่า (ทฤษฎีโรค) | ทฤษฎีการแพทย์ใหม่ (ทฤษฎีสุขภาพ) |
1. ทรรศนะ | เห็นเฉพาะส่วน (กาย) | เห็นทั้งหมด |
2. แนวทาง | รักษาโรค | รักษาคน |
3. เครื่องมือ | เทคโนโลยี | หลากหลาย |
4. ประเภทของการแพทย์ | ฐานปัจเจกเป็นราย ๆ | ฐานประชากร |
5. ระบบบริการสุขภาพ | ตั้งรับ (ซ่อมสุขภาพ) | รุก (สร้างนำซ่อม) |
6. ค่าใช้จ่าย-ผลตอบแทน | แพงมาก ผลตอบแทนทางสุขภาพต่ำ | ประหยัด ผลตอบแทนทางสุขภาพสูง |
7. ผลลัพธ์ | ซ่อมสุขภาพเป็นราย ๆ | การพัฒนามนุษย์-สังคม-สิ่งแวดล้อม-ทั้งหมด |
8. ศักยภาพของแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข | ถูกจำกัดอยู่กับมิติทางเทคนิค | มีส่วนร่วมในการพาสังคมออกจากวิกฤต |