ชื่องานวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
ผู้แต่ง : วิไลลักษณ์    ตันติตระกูล
ชื่อวารสาร : วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 2 ฉบับที่ 3
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2009
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลราชบุรี
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการพยากรณ์ระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา  ความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย แรงสนับสนุนทางสังคม กับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่าง  คือ   ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจำนวน 110คนซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยในศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี  และอโรคยศาล วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณ แบบประเมินการปฏิบัติที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางศาสนา แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคมซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ     และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ  .89, .82, .82และ.96 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่าแรงสนับสนุนทางสังคมและการปฏิบัติที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางศาสนา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r = 0.49และ 0.18 ตามลำดับ)แต่ความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย มีความสัมพันธ์ทางลบกับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    (r = -0.49) ในด้านความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย การปฏิบัติที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางศาสนาและแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้ร้อยละ 40 (R2= .40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purposes of this study were to examinethe relationships and predictors between practice related to religious activities, severity of illness, social support and spiritual well being of terminal cancerpatients. Participants included 110 terminal cancer patients from two settings:The Cancer Center ofMahavachilalongkorn, Tanyaburi Pathumthani Province, and Arokhayasala Wat Khampramong, Sakon Nakhon Province.Data were collected by using five instruments:Demographic data form, Spiritual Well Being Scale, Practice Related to Religious Activities Questionnaire, Perceived Severity of illness Questionnaire and Social Support Questionnaire. All instruments were tested for content validity and reliability. Cronbach’s alpha coefficients for the scales were .89, .82, .82, and .96, respectively. Data were analyzed using Pearson’s Product moment coefficient and Stepwise multiple regression. The research results were as follows: Social support and practice related to religious activities were significantly positive related to the spiritual well being of terminal cancer patients(r=0.49,and0.18, respectively; p<.05)but the severity of illness was significantly negative related to the spiritual well being of terminal cancer patients (r = -0.49; p<.05).  The severity of illness (ß=-.40; p<.05), social support (ß=.32; p<. 05) and practice related to religious activities (ß=.22; p<.05) were the significant predictors and together accounting for 40 percentof the variance to spiritual well being of terminal cancer patients (R2= .40; p<.05).

เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : 
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย :
วิไลลักษณ์ ตันติตระกูล

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5917960
This Month : 18347
Total Users : 1527473
Views Today : 2413
Server Time : 2024-09-19