การศึกษาเรื่อง การประเมินประสิทธิผลการผ่าตัดพังผืดเทียมในผู้ป่วยโรคนิ้วล็อก
กรณีศึกษา Retrospective ผู้ป่วยอาการนิ้วล็อกที่รับการรักษา ปี2555, 2556, 2557
ผู้ศึกษา
1. นายยิ่งศักดิ์ จิตตะโคตร์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2.นายสมเกียรติ ศรไพศาล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ
3. นายมนตรี มาคะเกศ นายแพทย์ชำนาญการ
หน่วยงานศึกษา สำนักการแพทย์ทางเลือก
รูปแบบการศึกษาการศึกษาย้อนหลัง (Retrospectivestudy) ผู้ป่วยอาการนิ้วล็อก กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคนิ้วล็อกที่รับบริการรักษา ณ ศูนย์ประเมินและพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์ทางเลือก สำนักการแพทย์ทางเลือก ตั้งแต่ ปี 2555, 2556, 2557 ความเป็นมา นิ้วล็อกเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการงอข้อนิ้วมือ ซึ่งอยู่ตรงบริเวณ โคนนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้นและติดขัดในการเคลื่อนไหวขณะเหยียดนิ้วมือ เมื่ออักเสบรุนแรงมากขึ้น จะเกิดปุ่มตรงเส้นเอ็น เวลางอนิ้วมือปุ่มจะอยู่นอกปลอกหุ้ม แต่ไม่สามารถเคลื่อนเข้าปลอกหุ้ม เวลาเหยียดนิ้วมือกลับไป ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกอยู่ในท่างอ ต้องออกแรงช่วยใน การเหยียด จึงจะสามารถฝืนให้ปุ่มเคลื่อนที่ผ่านปลอกหุ้มเข้าไปได้ แนวโน้มของการพัฒนาโรคนิ้วล็อกที่มีผลต่อการเสียสมดุลของร่างกาย นิ้วล็อกไม่มีภาวะแทรกซ้อนอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด นอกจากทำให้มีอาการเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด ส่วนการดำเนินโรคถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็นเรื้อรังและข้อฝืดมากขึ้นและถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มักจะหายได้ หากทำการรักษาแบบปกติใช้จ่ายค่ารักษามาก หลังการรักษาพักฟื้นใช้เวลานานแล้วยังมีอาการเจ็บปวดนิดหน่อย ดังนั้นใช้การรักษาทางเลือกอื่นๆน่าจะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่อาจจะได้ผล จึงเป็นที่มาของการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยนิ้วล็อกด้วยวิธีผ่าตัดพังผืดเทียม
ได้แล้ววันนี้