โดย : อาจารย์เสาวนีย์ สังฆโสภณ |
การรักษาแบบ alternative medicine หรือการแพทย์ทางเลือก เป็นวิธีการรักษาแบบอิสระที่ใช้ได้กว้างขวางร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ดูแลพยาบาลผู้ป่วยได้มีส่วนช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากภาวะต่างๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็ง ด้วยวิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ ช่วยลดการกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด ส่ง เสริมการผ่อนคลายทางร่างกาย และทำให้เกิดความสุข ความงดงามทางจิตใจ ด้วยวิธีการ ผสมผสานแบบธรรมชาติ อาทิเช่น |
1. Muscle relaxation technique2. Rhythmic breathing3. Massage and touch therapy4. Position and supporting5. Heat and cold6. Meditation , Guided Imagery7. Yoka8. Environment therapy9. Art therapy , Humor therapy , Dance therapy10. Music therapyวิธีการดังกล่าวอาจนำมาใช้ผสมผสานร่วมกันตามความเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายมากที่สุด ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการใช้ Music therapy เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก ง่าย ปลอดภัย และผู้ป่วยก็ยังคงสนับสนุนให้นำมาใช้เพราะมีความรู้สึกดีต่อวิธีการนี้การนำดนตรีมาใช้รักษาความเจ็บป่วย ได้มีมานานประมาณหลายพันปีแล้วในยุคกรีก ซึ่งเชื่อว่าเทพเจ้าแห่งดนตรีมีชื่อว่า Apollo จะช่วยรักษาความเจ็บป่วย ขับไล่วิญญาณชั่วร้ายได้โดยการใช้เสียงดนตรีขับกล่อมคนป่วย ได้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัย ผลของดนตรีในแง่การรักษาอย่างจริงจังมาประมาณกว่า 50 ปีแล้ว Buckwalter et.al.1985 พบว่าดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์ สามารถนำมาใช้ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ได้ผลดีในเรื่องความเจ็บปวด ลดความวิตกกังวล ความกลัว เพิ่มกำลังการเคลื่อนไหว สร้างแรงจูงใจให้เกิดสติ ความนึกคิด อารมณ์ และจิตใจที่ดี ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง ผ่อนคลาย และเป็นสุขได้โดยนิยมใช้ในห้องผ่าตัด ห้องคลอด หอผู้ป่วยมะเร็ง ICU ฯลฯ เป็นต้น
ดนตรีบำบัดได้ถูกนำมาใช้ในเรื่อง Relaxation และ pain control ครั้งแรกเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อช่วยฟื้นฟูทหารบาดเจ็บจากสงคราม มีงานวิจัยมากมายสนับสนุนว่าดนตรีมีผลช่วยลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งลงได้ อาทิเช่น – Bailey (1986) พบว่าดนตรีสามารถช่วยลดความวิตกกังวลและความกลัว อันเป็นวงจรของความเจ็บปวดทำให้ผ่อนคลายและลดปวดได้- Zimmerman และคณะ (1989) พบว่าดนตรีสามารถช่วยลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งได้- Zimmerman และคณะ (1989) พบว่าดนตรีสามารถช่วยลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งได้- Munro and Mount (อ้างใน Cook1986) เสนอผลการศึกษาตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะสุดท้ายอายุ 15 ปีซึ่งเผชิญกับความปวดหลังและปวดท้องอย่างรุนแรง ร่วมกับมีความวิตกกังวล แนะนำวิธีการใช้จินตนาการร่วมกับการฟังดนตรี พบว่ามีประสิทธิภาพมาก เพราะผู้ป่วยไม่ใช้ยาระงับปวดขณะวันสุดท้ายของชีวิต- Beck (1991) ศึกษาผลของดนตรีที่ผู้ป่วยชอบต่อระดับความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง โดยให้กลุ่มตัวอย่างเลือกฟังเพลงที่ชอบ ประเภทผ่อนคลาย 7 ชนิด เช่น เพลงคลาสสิก, แจซ, ร็อค เป็นต้น ให้ฟังนาน 45 นาที ฟังวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน ผลการศึกษาพบว่าความปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ- Radziewicz and Schneider (1992) ศึกษาผลของดนตรีที่ผู้ป่วยชอบ เพื่อลดความเจ็บปวดในผู้ป่วย Leukemia ขณะทำการเจาะไขกระดูก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความปวดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ- วัลลภา สังฆโสภณ (1993) ศึกษาผลของดนตรีต่อความปวดและทุกข์ทรมานในผู้ป่วยมะเร็ง ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเมื่อได้ฟังดนตรี จะมีความปวดและทุกข์ทรมานน้อยกว่าขณะไม่ได้ฟังดนตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ- Smith M และคณะ (2001) ศึกษาผลของดนตรีต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็ง ในระหว่างการฉายรังสีรักษา พบว่ามีแนวโน้มว่าดนตรีมีส่วนช่วยลดความวิตกกังวลลงได้- Maxwell T และคณะ (2001) สนับสนุน วิธีการดูแลให้ความรู้เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง Bone Metastasis ในเรื่องการทำ Relaxation therapy, guided imagery , music , meditation และ touch therapy- จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี(2003) ศึกษาผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง พบว่าการใช้ดนตรีบำบัดสามารถลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งได้ แต่ยังสรุปได้ไม่ชัดเจนในเรื่องการลดความปวดและความทุกข์ทรมานจากความปวด ได้มีผู้ให้คำนิยามของคำว่าดนตรีบำบัดมากมาย แต่โดยสรุป ดนตรีบำบัด หมายถึงการควบคุม, การวางแผนการใช้ดนตรีและองค์ประกอบของดนตรี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรักษาบุคคล ซึ่งมีความบกพร่องทั้งทางร่างกายและจิตใจ สังคม อารมณ์ สติปัญญา จุดประสงค์ของการนำดนตรีมาใช้ 1. เพื่อทำให้ความรู้สึกเจ็บปวดลดลง มีความทนทานต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น มีความวิตกกังวล ความกลัวลดลง ใช้ยาน้อยลง2. ทำให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายจิตใจ มีความสุขเพลิดเพลิน ลืมความทุกข์ ความเจ็บปวดชั่วขณะ3. ทำให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อทีมงานผู้รักษา แสดงออกในด้านดี4. ช่วยทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้มากขึ้นจุดประสงค์ของการนำดนตรีมาใช้ ก็เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวด ไปสู่ความสุขสบายเพลิดเพลิน เนื่องจากดนตรีที่เลือกสรรแล้ว โดยเฉพาะจังหวะ ความเร็ว-ช้า ระดับของเสียงและความดังจะมีอิทธิพล ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทางร่างกาย จิตใจ อันมีผลทำให้ความวิตกกังวล ความกลัวลดลงและยังสามารถปิดกั้นวงจรของการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้ความเจ็บปวดลดลงได้ และดนตรียังเพิ่มแรงจูงใจทำให้อยากเคลื่อนไหว ให้เกิดผลดีในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องมี early ambulation เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากความเจ็บปวด ทำให้จำกัดความเคลื่อนไหว ในการนำดนตรีมาใช้ลดความเจ็บปวดนี้จำเป็นต้องใช้ร่วมกับ Relaxation technique โดยเฉพาะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขสบายมากขึ้น แสดงออกต่อผู้รักษาด้วยดี มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงานผู้รักษาเป็นการปรับสภาพอารมณ์และพฤติกรรมไปในด้านดี ส่งผลให้การรักษาประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อระงับอาการปวด 1. ต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยก่อน ผู้ป่วยควรมีความพร้อมที่จะใช้วิธีดนตรีบำบัด มีบางครั้งที่พบว่าในยามปกติ ผู้ป่วยมีประวัติรักเสียงเพลงและร่วมกิจกรรมด้านดนตรี แต่เมื่อมีความเจ็บป่วย ผู้ป่วยกลับไม่ค่อยตอบสนองต่อดนตรีเลย หรือปฏิเสธที่จะฟังดนตรี จึงควรหลีกเลี่ยงวิธีนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ชอบ2. การสำรวจผู้ป่วยในเรื่องประสบการณ์ด้านดนตรี, ความสามารถด้านดนตรี ประเภทเพลงที่ผู้ป่วยชอบ เครื่องดนตรีหรือเพลงที่ผู้ป่วยคุ้นเคยซึ่งจะช่วยให้การจัดกิจกรรมดนตรีง่ายขึ้น และเป็นการสร้างความรู้สึกอบอุ่นประทับใจแก่ผู้ป่วย3. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายที่สุด เจ็บปวดน้อยที่สุด โดยแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ใส่สบายไม่อึดอัด ใช้หมอน ผ้าห่ม ฯลฯ ช่วยพยุงปรับให้อยู่ในท่าที่พอดี4. ควรอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิเย็นสบาย ไม่มีเสียงรบกวน ปรับแสงสีในห้องให้เย็นตา สะอาด เรียบร้อย สวยงาม5. เลือกใช้เครื่องเสียงที่มีคุณภาพ ที่ผู้ป่วยจะสามารถใช้ได้เองด้วยตนเองตามสะดวกและปลอดภัย6. จัดเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือดูแล สอน ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจผู้ป่วย ขณะที่ใช้วิธีการดนตรีบำบัดร่วมกับเทคนิคการผ่อนคลาย7. ควรมีการประเมิน ความเจ็บปวด ความวิตกกังวล ก่อน-หลังทำ วิธีการทางดนตรีบำบัดมีหลายวิธี อาทิเช่น – การฟังดนตรี- การร้อง- การเล่นดนตรี- การเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับดนตรี
การฟังดนตรี เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย ผ่อนคลายง่ายที่สุด โดยให้ฟังจากแผ่นเสียง เทป วิทยุ หรือชมการแสดงคอนเสิร์ต โดยจัดให้ฟังในเวลาที่ยาลดความเจ็บปวดกำลังออกฤทธิ์ และใช้เทคนิคการผ่อนคลายร่วมด้วย เวลาที่ใช้ในการฟัง หรือจำนวนครั้งที่ฟังในแต่ละวันขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการรักษา และความพร้อมของเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย เช่นอาจให้ฟังตามอาการ หรือฟังเป็น Background เบาๆเกือบทั้งวัน, Herth (1978) จัดดนตรีให้ผู้ป่วยฟัง 5 นาทีก่อนที่จะมี activity ที่จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด, Zimmerman และคณะ (1989) จัดให้ฟังดนตรีลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งครั้งละ 30 นาที ในขณะที่ program ของผู้ป่วย oncology ใน ICU นิยมนำเพลงมาเปิดให้ผู้ป่วยฟัง 30 นาทีทุกเช้า-เย็น อย่างไรก็ตาม ดนตรีสามารถช่วยลดความเจ็บปวดได้ถึงจุดหนึ่ง และเป็นเวลาชั่วคราว จึงจำเป็นต้องฟังตามอาการเป็นประจำ ซึ่งการฟังเพลงร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมเนื่องจากเป็นการลงทุนที่ต่ำ แต่ได้ประโยชน์สูงมาก ไม่มีพิษภัยและใช้ได้อย่างอิสระ
ได้มีผู้เขียนแนะนำวิธีการใช้เทคนิคผ่อนคลายไว้หลายวิธี แต่สามารถสรุปได้อย่างคร่าวๆ ว่าวิธีการดังกล่าว คือ ให้ผู้ป่วยหลับตาสงบนิ่ง ปล่อยร่างกายทุกส่วนให้ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ให้เกิดความรู้สึกคลายตัวของกล้ามเนื้อตั้งแต่เท้าจนถึงใบหน้า พยายามควบคุมลมหายใจ ให้ราบเรียบ ไม่มีเสียงดัง ในขณะหายใจเข้า-ออก ลึกๆ-ยาวๆ อย่างช้าๆ นับ 1-2-3 ขณะหายใจเข้า หยุดนิ่งและหายใจออก ทำในจังหวะสม่ำเสมอ อาจให้นึกถึงภาพที่ทำให้มีความสุข คำพูดที่ดีๆ ที่ช่วยให้เกิดความสงบ เจ้าหน้าที่อยู่ใกล้ๆ คอยช่วยสอนแนะนำและเตือนให้ผ่อนคลาย มีรายงานว่าเทคนิคการผ่อนคลายจะช่วยลดความเครียดและลดความเจ็บปวดได้ ในขณะที่ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย อาจมีประคบความร้อน หรือความเย็นตามความเหมาะสม หรือช่วยบีบนวดเพื่อคลายปวดได้อีกด้วย และที่สำคัญคืออย่าลืมใช้ดนตรีร่วมด้วยจะสามารถเบี่ยงเบนความสนใจ ทำให้ผ่อนคลายได้มากขึ้น นอกจากการให้ผู้ป่วยฟังดนตรีแล้วยังสามารถให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมดนตรีอื่นๆ ได้ตามความสามารถของแต่ละคน เช่น การเปล่งเสียงร้องฮัมตามเพลง เพื่อคลายความเครียด ความวิตกกังวล การเคาะจังหวะ การตบมือ เพื่อสร้างสมาธิ การเล่นดนตรี อาทิเช่นเครื่องเป่า เพื่อระบายความรู้สึกทำให้สบายขึ้นหรือการร่วมกิจกรรมดนตรีเป็นกลุ่ม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ป่วยและผู้รักษา เป็นต้น โดยเฉพาะผู้รักษาควรเรียนรู้วิธีการใช้เสียงพูดที่นุ่มนวล ราบเรียบไม่ดังมาก จะช่วยให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการฝึกยิ่งขึ้น
ลักษณะของดนตรีที่ใช้ 1. ควรเป็นเพลงบรรเลง ไม่ควรมีเนื้อร้อง, มีเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงนก น้ำตก ฯลฯ2. มีจังหวะที่ช้า มั่นคง สม่ำเสมอ ขนาดช้าถึงปานกลางประมาณ 70-80 ครั้ง/นาที3. ทำนองราบเรียบ นุ่มนวล ผ่อนคลายสดชื่น สอดคล้อง4. ระดับเสียงปานกลาง – ต่ำ5. ความเข้มของเสียง ไม่ดังมาก ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ป่วย เนื่องจากความดังสามารถกระตุ้นให้มีความเจ็บปวดมากขึ้นได้6. ประเภทของดนตรีที่นิยมใช้ อาทิ เช่น พิณ เปียโน กีต้าร์ วงออร์เคสตร้า แจ๊สแบบช้า นุ่มนวล Pop Classic เป็นต้น7. เป็นดนตรีที่ผู้ป่วยมีส่วนในการคัดเลือก และอาศัยความคุ้นเคย ความชอบของผู้ป่วยร่วมด้วย
ตัวอย่างดนตรีที่ใช้ในการทำวิจัยโรคต่างๆ ดนตรีบรรเลงที่ใช้ในการวิจัยของบำเพ็ญจิต แสงชาติ เรื่องผลของดนตรีต่อการลดความเจ็บปวด และจำนวนครั้งของการใช้ยาระงับปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะ(1985) 1. ลาวดวงเดือน2. ลาวเจริญศรี3. ลาวกระทบไม้4. มอญดูดาว5. เขมรไทรโยค6. ลมหวล7. เงาไม้8. Symphony No. 9 ท่อนช้าของ Beethoven9. Adagio Molto cantabile10. Suite from ” Water music” ของ Handel11. Music from Shakespeare12. Lullaby ของ J. Brahms13. Trumpet concerto ของ HAYDN14. Guitar concerto Rodigo15. Winter farewell16. Romance in F ของ Beethoven17. Romance in E minor Anonymousดนตรีบรรเลงที่ใช้ในการวิจัยของ โฉมนภา กิตติศัพท์ เรื่องผลของดนตรีต่อการลดความเจ็บปวด และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (1993) 1. เขมรไทรโยค2. ขึ้นพลับพลา3. ในฝัน4. จันทร์เอ๋ย5. ลาวดวงเดือน6. Largo ของ Handel arr. F. Pourcel 19817. Gymnopedie No. 3 ของ E.Satie orchestration: C.Debussy.8. REVE D’ AMOUR ของ F.Liszt arr F.Pouecel 19819. Valse, Op.39 ของ J. Brahms arr F. Pourcel. 198110. None but the lonely heart ของ Tchaikovsky.11. Andante Cantabile from String Quartet No. l ของ Tchaikovsky12. Barcarolle (June)from the Months. ของ Tchaikovsky.13. II Andante cantabile con moto ของ Beethoven, Symphony No.l in C Major, Op. 21.14. III Adagio from Serenade No. 10 for Thirteen Wind, K316 ของ Mozart.15. Telemann: Trio Sonata in A Minor.16. Always on my mind.17. II Adagio : Concerto No. 3 in G Major for violin and orchestra, K216 ของ Mozart18. II Andante Cantabile: Concerto No. 4 in D Major for violin and orchestra, K218 ของ Mozart.19. Horn Concerto ของ Richard Strauss. “Concerto for horn and orchestra No. 2 in Ebดนตรีบรรเลงที่ใช้ในการวิจัยของวัลลภา สังฆโสภณ เรื่องผลของดนตรีต่อความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยมะเร็ง (1993) 1. สวนอัมพร2. สนามหลวง3. เมื่อวานนี้4. ลมหวล5. ลาวกระแตเล็ก6. ทะยอยญวน7. ลาวดวงเดือนดนตรีบรรเลงที่ใช้ในงานวิจัยของ จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี เรื่องผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง (2003) 1. Sound of the sea arranged by Michael Maxell and produced by Gordon Gibson: Beyond the Horizon, In a protected Cove, Forever by the Sea, Timeless and Free.2. Sound of songbird arranged by John Herberman and produced by Gordon Gibson: New England Spring, Northern Mist, Coastal Horizon, Prairie Giory, Dawn in the Valley3. Sound of the stream arranged by Michael Maxell and produced by Gordon Gibson: Pool of Mirror, The Repose,Quiet Longing, After the Rain.4. Sound of the Wind arranged and produced by Eclipse Music Group: Riding the Wind.
สร้างเมื่อ 17 – พ.ค.- 49 |
|
เอกสารที่เกี่ยวข้อง เอกสารประกอบการบรรยาย (pdf) |
ได้แล้ววันนี้